เหตุการณ์สำคัญในวันตั้งมโนปณิธานว่าจะบวชตลอดชีวิต
ย้อนไป ๑๑๒ ปี มีเด็กหนุ่มวัย ๑๙ ปี ซึ่งต่อมา คือ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กำลังทำหน้าที่เป็นพ่อค้าข้าวแทนบิดาที่เสียไปตั้งแต่อายุ ๑๔ ปี และได้เป็นหัวแรงสำคัญของครอบครัว ได้ตั้งจิตอธิษฐานขอบวชตลอดชีวิตทำให้เป็นจุดหักเหให้ท่านเลือกเส้นทางเดินชีวิตที่ต่างจากคนทั่วไป
กำหนดการพิธีถวายผ้าอาบน้ำฝนวันอาสาฬหบูชา
พิธีถวายกองทุนแสงสว่าง ร่ม และผ้าอาบน้ำฝนวันอาสาฬหบูชาในวันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม 2555 ณ ห้องแก้วสารพัดนึก
นั่งสมาธิไม่ยากเลย
ในเวลานั่งสมาธิ ผมอาจจะเห็นดวงแก้วบ้าง องค์พระบ้างสลับกัน แต่สิ่งที่ผมทำเพียงอย่างเดียว คือ มองเข้าไปในกลางของกลางเท่านั้น ผมมีความสุขมากครับ และอยากให้ชาวโลกรู้จักความสุขอย่างนี้เหมือนผมจังเลย เพราะผมคิดว่ามันไม่ยากเลย แค่เราหยุดคิด หยุดพูด หยุดใจ ประเดี๋ยวใจก็จะหยุดเองครับ
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - สร้างผังรวยข้ามชาติ
วันหนึ่ง เธอได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเดินบิณฑบาตผ่านหน้าบ้าน บังเกิดความเลื่อมใส จึงรีบนำอาหารหวานคาวมาใส่บาตร ถวายดอกปทุมกำหนึ่ง พลางตั้งความปรารถนาว่า "ไม่ว่าจะเกิดไปกี่ภพกี่ชาติก็ตาม ขอให้เป็นที่รักของมหาชนเหมือนดอกปทุมนี้" ทั้งยังอธิษฐานเพิ่มเติมอีกว่า "การอยู่ในครรภ์มารดาเป็นสิ่งลำบาก ขอให้ได้เกิดในดอกปทุม ไม่ต้องไปอาศัยอยู่ในครรภ์มารดาอีก"
อานิสงส์ถวายข้าวตัง
หญิงผู้ยากไร้ มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายข้าวตังแก่เราผู้เที่ยวบิณฑบาต ด้วยอานุภาพแห่งบุญนั้น ครั้นละจากอัตภาพนี้ไป ได้บังเกิดเป็นเทวดาผู้มีฤทธิ์มาก ชื่อนิมมานรดี เพียงการถวายข้าวตังเป็นทานก็เข้าถึงสุขอันเป็นทิพย์ในเทวโลก
ปัตติทานมัย : เอาบุญมาฝากนะครับ/คะ
อานิสงส์บูชาด้วยดอกสาละ
เราได้ทำกุศลกรรมที่พระพุทธเจ้าสรรเสริญ จึงสร่างโศก หมดโรค หมดภัย สุขกาย สบายใจ รื่นเริงบันเทิงอยู่เป็นนิตย์
พระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้รัตตัญญู (๒)
พระอัญญาโกณฑัญญะเถระนี้ เป็นผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธองค์ก่อนใคร เป็นผู้มีความเพียรเครื่องก้าวหน้าอย่างแรงกล้า เป็นผู้ได้ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข อันเกิดแต่วิเวกเนืองนิตย์ คุณอันใดที่พระสาวกผู้ทำตามคำสอนของพระศาสดาพึงบรรลุ คุณอันนั้นทุกอย่าง พระอัญญาโกณฑัญญะเถระผู้ไม่ประมาท ได้บรรลุแล้วโดยลำดับ เป็นผู้มีอานุภาพมาก เป็นผู้ได้วิชชา ๓ เป็นผู้ฉลาดในเจโตปริยญาณ เป็นธรรมทายาทของพระพุทธองค์ มีปกติกราบไหว้ซึ่งพระบาททั้งสองของพระศาสดา
อานิสงส์การจุดประทีปถวายเป็นพุทธบูชา
การบูชา คือ การแสดงออกในลักษณะของความเลื่อมใสศรัทธา มีการยกย่องเชิดชูทั้งทางกาย วาจา และใจ ด้วยความนอบน้อมทั้งต่อหน้าและลับหลัง การแสดงต่อหน้าเป็นการแสดงออกถึงความเคารพและตระหนักในคุณธรรมความดีของบุคคลที่เราบูชา อย่างจริงใจ
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๘)
จากฉบับที่แล้ว ผู้เขียนได้พาท่านผู้อ่านย้อนรำลึกถึงประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศไทย นั่นก็คือพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ในยุคต้นรัตนโกสินทร์ คือ รัชกาลที่ ๑ ที่...