ทำความดี คือหน้าที่หลักของมนุษย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต ละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต ละมิจฉาทิฏฐิ เจริญสัมมาทิฏฐิได้แล้ว ในกาลนั้น เธอย่อมไม่กลัวต่อความตาย อันจะมีในภายหน้า
ความงมงาย
โรคตื่นผู้วิเศษย่อมหมดไปไม่ได้ ถ้าคนงมงายยังมีอยู่ ความงมงายทำให้เสียรู้คน เสียประโยชน์ ถ้ายอมเสียเวลาใช้สติปัญญาไตร่ตรองให้รอบคอบ
อัธยาศัยของมนุษย์ (๑)
บัณฑิตพึงทราบ จริตทั้งหลาย โดยอิริยาบถ โดยกิจ โดยการบริโภค โดยอาการ มีการดู เป็นต้น และโดยความเป็นไป แห่งธรรมนั่นแล
เพื่อนพ้องพี่น้องกัน
ท่านทั้งหลายจงเห็นการทะเลาะวิวาทกันว่า เป็นเหตุแห่งภัย และเห็นการไม่วิวาทกันว่า เป็นความเกษมสำราญแล้ว พึงเป็นผู้พร้อมเพรียง มีความประนีประนอมกันเถิด นี้เป็นพระพุทธานุสาสนี
มหาสติปัฏฐานสูตร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางสายเอก ที่เป็นไปเพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงเสียซึ่งความโศก และความร่ำไร เพื่อความดับไป แห่งทุกข์ และโทมนัส เพื่อบรรลุไญยธรรม เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง ทางนี้คือสติปัฏฐาน ๔
บัณฑิตควรตักเตือนกัน
คนเราควรเตือนสติกัน ควรแนะนำกัน และควรห้ามปรามกันจากอกุศลกรรม คนที่ทำเช่นนั้น ย่อมเป็นที่รักของคนดี แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี
ผู้นำประโยชน์สุขมาให้แก่ชาวโลก
ผู้ใดเป็นคนฉลาด แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม และเป็นผู้ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ผู้เป็นเช่นนั้นท่านเรียกว่า เป็นผู้ยังหมู่ให้งดงาม
ปัจจัยในการบรรลุธรรม
การฝึกจิตที่บุคคลข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติแล่นไปเร็ว มักตกไปในอารมณ์ตามความปรารถนา เป็นสิ่งที่ดี เพราะว่าจิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำความสุขมาให้
ได้โปรดอภัยเถิด
ผู้ใดมีสติมั่นคง เจริญเมตตาอันหาประมาณมิได้ สังโยชน์ของผู้นั้น ผู้เห็นธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส ย่อมเบาบาง ผู้ใดมีเมตตาจิตในสรรพสัตว์ ไม่ฆ่าสัตว์เอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ชนะเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นชนะ ผู้นั้นย่อมไม่มีเวรกับใคร
อสัญญีสัตตาพรหม
ดูก่อนพราหมณ์ สัตว์ละความยึดถืออัตตาว่าเป็นของเราในสัตว์ทั้งหลายที่เกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้เดียวโดดเด่น น้อมไปในกรุณา เป็นผู้ปราศจากกลิ่นเหม็น เว้นจากเมถุน ตั้งอยู่ในธรรมนี้ และศึกษาอยู่ในธรรมนี้ จึงจะถึงพรหมโลกได้