มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สัมมาทิฏฐิ ( ๓ )
"ระหว่างพระพุทธเจ้ากับท่านอุรุเวลกัสสปะ ใครหนอจะมีอานุภาพมากกว่ากัน" พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงล่วงรู้ความคิดของชาวเมือง จึงตรัสถามท่านว่า "ดูก่อนกัสสปะ ท่านเคยเป็นอาจารย์สั่งสอน หมู่ชฎิลผู้ผ่ายผอมเพราะกำลังประพฤติพรต ท่านเห็นอะไรจึงได้ ละไฟที่เคยบูชาเสียเล่า ท่านเห็นประโยชน์อะไรจึงมาประพฤติพรหมจรรย์กับเรา"
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สัมมาทิฏฐิ ( ๖ )
พระราชาสดับเช่นนั้น ทรงปฏิเสธทันทีว่า "ลูก เอาทรัพย์ไปใช้เช่นนี้ไม่เกิดประโยชน์เลย เลิกให้ทานเถิดลูก ลูกควรจะนำทรัพย์ที่พ่อจะให้นี้ ไปใช้จ่ายเที่ยวเล่นสนุกสนานให้เต็มที่ ไม่ต้องไปคิดถึงใคร และภพชาติต่อไปก็อย่าไปกังวล ลูกจงเก็บเกี่ยวความสุขในชาตินี้ให้เต็มที่เถิด"
มงคลที่ ๒๔ มีความสันโดษ - สันโดษให้ถูกหลักวิชา
ในอดีตกาล นกแขกเต้าหลายพันตัว อยู่ในป่าไม้มะเดื่อแห่งหนึ่งใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคาในป่าหิมพานต์ ในบรรดานกแขกเต้าเหล่านั้น มีพญานกแขกเต้าตัวหนึ่ง เมื่อผลมะเดื่อต้นที่ตนอาศัยอยู่หมดผลแล้ว ก็จิกกินหน่อใบหรือเปลือกซึ่งยังเหลืออยู่ เป็นผู้ที่มีความปรารถนาน้อยอย่างยิ่ง สันโดษในอาหาร ไม่บินไปแสวงหาต้นอื่น
มงคลที่ ๒๐ สำรวมจากการดื่มน้ำเมา - เลิกดื่มอย่างเด็ดขาด
ภายใน ๗ วันนั้น ทั้งเมืองจะหยุดการทำงานทุกอย่าง มีแต่การละเล่นมหรสพ และการดื่มสุราเท่านั้น โดยภรรยาจะจัดแจงหาสุรามาให้สามีดื่ม และคอยต้อนรับเลี้ยงแขกที่มาเยือน เมื่อครบ ๗ วัน ทุกคนจะเลิกดื่มกันทันที และต่างเริ่มงานกันตามปกติ แต่พวกภรรยาเห็นว่า สุราที่เตรียมไว้ยังมีเหลืออยู่ จึงอยากจะดื่มบ้าง
กุศลนิมิต...สะกิดใจ
คุณครูไม่ใหญ่ คือ ดวงตะวันที่ให้แสงสว่าง ขจัดความมืดบอดไปจากใจของปวงชน ผมเองก็คือคนหนึ่งที่พบหนทางสว่างจากคุณครูไม่ใหญ่ จากคนที่ไม่เคยเชื่อเรื่องชีวิตในโลกหน้า นรก-สวรรค์ มีอบายเป็นที่ไป แต่บัดนี้ผมมีสุคติเป็นที่ไป มีนิพพานเป็นเป้าหมาย ที่สุดแห่งธรรมเป็นปลายทาง ก็เพราะได้ไปปฏิบัติธรรมที่สวนพนาวัฒน์ จากคนที่ไกลวัด บัดนี้กลายเป็นคนที่ใกล้วัด
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - บุญคือฉากหลังของทุกชีวิต
เรื่องราวของพระอุบาลีเถระ เป็นพระเถระผู้มีชื่อเสียงมากในสมัยพุทธกาล ตัวของท่านได้รับแต่งตั้งจากพระบรมศาสดาให้เป็นผู้ที่เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านทรงจำพระวินัย มาติดตามกันเลยว่าท่านได้กระทำเหตุไว้อย่างไรจึงได้เป็นผู้ที่เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านทรงจำพระวินัย
มงคลที่ ๑๙ งดเว้นจากบาป - งดเว้นจากอกุศลกรรม
นกกระทาคิดว่า หมู่ญาติของเรามากมายพากันฉิบหายเพราะอาศัยเราผู้เดียว บาปคงจะติดตามเราไปข้ามภพข้ามชาติเป็นแน่ วัน ต่อมา เมื่อนายพรานนำนกไปปล่อยไว้ในป่า เพื่อเป็นนกต่อตามปกติ นกกระทาก็ไม่ยอมร้อง แต่ถ้าไม่ร้อง นายพรานก็จะเอาแขนงไม้ไผ่ตีศีรษะ นกกระทาได้รับความเจ็บปวด จึงจำเป็นต้องส่งเสียงร้อง ทำให้มีนกกระทาอีกมากมายต้องมาตายด้วยน้ำมือของนายพราน
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - ผู้กลัวตายและไม่กลัวตาย
มื่อเกิดแล้ว ชีวิตต้องพบกับความแก่ ความเจ็บ สุดท้ายต้องบ่ายหน้าไปสู่ความตาย จึงไม่มัวเมาประมาทในร่างกายซึ่งมีปกติเปื่อยเน่า เป็นรังของโรค เต็มไปด้วยของปฏิกูล แล้วหมั่นสร้างคุณงามความดี แ้ล้วจะไปสู่สัมปรายภพอย่างผู้มีชัยชนะ
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - อย่ามัวประมาทอยู่เลย
นางยักษิณีคิดว่า บุรุษนี้มีใจเข้มแข็ง เราจะต้องจับกินให้ได้ นางเดินตามหลังพระโพธิสัตว์ไปเรื่อยๆ จนถึงปากทางออกจากป่าใหญ่ พบพวกคนหาของป่า คนเหล่านั้นกล่าวกับพระโพธิสัตว์ว่า กุมาริกาที่เดินตามหลังท่าน น่ารักน่าทะนุถนอมเหมือนพวงดอกไม้งาม ผิวพรรณก็งามเหมือนดั่งทอง เหตุใดท่านจึงปล่อยให้นางลำบาก ไม่จูงนางไปด้วยเล่า พระโพธิสัตว์กล่าวว่า พ่อคุณ ทั้งหลาย นั่นไม่ใช่ภรรยาของเรา แต่เป็นยักษิณี คนของเรา ๕ คน ถูกมันจับกินไปหมดแล้ว
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ - ถึงเวลาแล้ว
พระราชาทอดพระเนตรผมหงอกของตน ทรงสลดพระทัยในความเสื่อมของสังขารร่างกาย จึงตัดสินพระทัยออกผนวชเพื่อแสวงหาโมกขธรรม ทรงพระราชทานรางวัลให้ช่างกัลบก และประทานโอวาทแก่พระโอรสว่า "ลูกรัก ผมหงอกเส้นนี้ เสมือนเทวทูตมายืนอยู่ตรงหน้าของพ่อ พ่อได้รับความสุข จากสิริราชสมบัติมามากพอแล้ว ถึงเวลาที่ต้องออกแสวงหาความสุขภายในอันเป็นอมตะ