มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - บุพกรรมนําพาชีวิต
เรื่องของ พระเถระรูปหนึ่ง มีนามว่า จุลปันถกเถระ เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในสมัยพุทธกาล กว่าท่านจะมีวันนี้ได้ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย มีที่มาที่ไปโดยมีบุญและบาปอยู่ฉากหลัง (เพราะท่านเคยว่าผู้อื่นโง่)
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 16
ทรงคาดการณ์ว่า นี้จะต้องเป็นเส้นพระเกศาของพระราชสวามี พระองค์ทรงปลงพระเกศาแล้วก็ทรงเปลี่ยนชุดเป็นบรรพชิต สละเครื่องราชาภรณ์วางไว้แล้วก็เสด็จลงจากพระราชวังไป ก็ทรงทราบได้ว่า “บรรพชิตรูปนั้น คงไม่ใช่พระปัจเจกพุทธเจ้าเสียแล้ว จะต้องเป็นพระราชสวามีสุดที่รักของเราอย่างแน่นอน”
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 15
สิ่งที่ได้ยากที่สุดกลับเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น ด้วยตาเปล่า แต่สัมผัสได้ด้วยใจ นั่นก็คือความสุขที่แท้จริงที่เกิดจากใจหยุดนิ่ง เป็นสิ่งที่ชาวโลกมักมองข้ามกัน เพราะมัวเอาใจไปติดอยู่กับสิ่งของนอกตัวซึ่งเป็นเครื่องล่อให้ติดอยู่ในภพ ทั้งสาม
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 10
เหล่าอำมาตย์และเสนาบดีผู้มีศักดิ์ใหญ่ทั้งหลาย ต่างมีความหวัง ได้้อธิษฐานว่า “ขอให้ผุสสรถจงมาจอดอยู่หน้าบ้านของเราเถิด” แต่ปุโรหิตก็ห้ามชาวพระนครไว้ ปล่อยให้ผุสสรถแล่นต่อไป โดยกล่าวว่า ถึงจะแล่นไปสิ้นร้อยโยชน์ก็อย่าให้กลับ จนกว่าจะพบผู้มีบุญบารมี
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 7
ส่วนพระมหาชนกนั้น เมื่อทรงพ้นจากรัศมีการดึงดูดของน้ำและสัตว์ร้ายได้แล้ว ก็ทรงแหวกว่ายลอยคอเหมือนกับท่อนกล้วย ที่ล่องลอยอยู่ในคลื่นมหาสมุทร ท่านได้เพียรว่ายเพื่อจะข้ามข้ามมหาสมุทรด้วยกำลังแขนอยู่ถึง ๗ วัน
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 6
คำของมารดานั้น มีความหนักแน่นประดุจขุนเขา ที่บุตรไม่ควรจะฟังเพียงผ่านๆ แต่ควรตระหนักไว้ในใจเสมอ เพราะมารดานั้นมีความรักและห่วงใยต่อบุตรเทียบด้วยชีวิตของตน จึงควรเคารพเชื่อฟังด้วยดี มีภาษิตที่สัตบุรุษทั้งหลายได้กล่าวไว้ ถึงความพิเศษของมารดาบิดาที่มีต่อบุตรถึง 4 ประการ คือ
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 5
วันหนึ่ง ในขณะที่พระราชกุมารทรงดื่มน้ำนมจากพระถันของมารดาอยู่นั้น ได้้กัดพระถันของพระนางเอาไว้ แล้วตรัสถามว่า “แม่จงบอกความจริงแก่ฉัน ใครเป็นพ่อของฉันกันแน่ ถ้าแม่ไม่บอก ฉันจะกัดถันของแม่ให้ขาดเดี๋ยวนี้”
ทศชาติชาดก เรื่อง พระเตมีย์ ผู้ยิ่งด้วยเนกขัมมบารมี ตอนที่ 17
ข้าแต่พระราชกุมาร พระวาจาของพระองค์ช่างไพเราะเสียจริง พระองค์มีพระดำรัสตรัสสละสลวยถึงเพียงนี้ แต่เหตุไฉน ก่อนนี้พระองค์ถึงไม่ทรงตรัสสิ่งใดกับพระชนกและพระชนนีเลย ขอพระองค์จงเสด็จกลับพระนครเถิด การอยู่ในป่าคนเดียวจะมีประโยชน์อะไร
ทศชาติชาดก เรื่อง พระเตมีย์ ผู้ยิ่งด้วยเนกขัมมบารมี ตอนที่ 13
ธรรมดาของหญิงผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นมารดา ย่อม มีจิตใจอ่อนไหวไปตามความเป็นไปของบุตร ถึงคราวบุตรอยู่ดีมีสุข มารดาก็พลอยแช่มชื่นเบิกบาน ยิ้มแย้มแจ่มใสไปด้วย แต่ครั้นบุตรมาเจ็บไข้ได้ป่วย ใจของมารดาก็เป็นทุกข์ร้อน มีความไม่สบายกายไม่สบายใจไปด้วย
เกฬิสีลชาดก ชาดกว่าด้วยปัญญาสำคัญกว่าร่างกาย
พระเจ้าพรหมทัตทรงครองราชสมบัติอยู่ ณ กรุงพาราณสี พระองค์ทรงชอบการกลั่นแกล้งทรมานคนแก่ชราและสัตว์ที่แก่ไร้เรี่ยวแรง นำมากลั่นแกล้งในรูปแบบต่าง ๆ จนท้าวสักกะทนไม่ไหวจำต้องเสด็จลงมาใช้อุบายทำการสั่งสอนให้พระองค์ได้ทรงสำนึกในการกระทำที่ไม่สมควร