ภาษาบาลี สันสกฤตคืออะไร ศึกษาไปเพื่ออะไร
ภาษาบาลี โดยคำว่า "บาลี" มาจากคำว่า "ปาลี" ซึ่งวิเคราะห์มาจาก ปาล ธาตุ ในความรักษา ลง ณี ปัจจัยๆ ที่เนื่องด้วย ณ ลบ ณ ทิ้งเสีย ปาลี แปลโดยอรรถว่า "ภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ"
อานิสงส์ถวายพวงดอกมะลิ
ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาศย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวทั้งปวงในโลกด้วยรัศมี ฉันใด บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีศรัทธา ย่อมไพโรจน์กว่าผู้ตระหนี่ทั้งปวงในโลกด้วยจาคะ ฉะนั้น เมฆที่ลอยไปตามอากาศ มีสายฟ้าปลาบแปลบ มีช่อตั้งร้อย ตกรดแผ่นดินทำให้เต็มที่ดอนและที่ลุ่ม ฉันใด สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สมบูรณ์ด้วยญาณทัสสนะ เป็นบัณฑิตก็ฉันนั้น ย่อมข่มผู้ตระหนี่ได้ด้วยฐานะ ๕ ประการคือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และอธิปไตย ย่อมบันเทิงใจในสุคติโลกสวรรค์
รอยพระบาทริมฝั่งนัมมทานที
บุญอันล้ำเลิศย่อมเจริญแก่ชนทั้งหลาย ผู้เลื่อมใสแล้วในบุคคลผู้เลิศ อายุ วรรณะ ยศ เกียรติ ความสุข และกำลังอันเลิศก็เจริญ ผู้มีปัญญาให้ของอันเลิศ ตั้งมั่นแล้วในธรรมอันเลิศ เป็นภูตหรือเทวดาก็ตาม เป็นมนุษย์ก็ตาม ย่อมเข้าถึงความเป็นเลิศ บันเทิงใจอยู่ นี้เป็นขุมทรัพย์ที่อำนวยสมบัติทุกอย่าง ทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
พระธรรม
ถึงจะอยู่ใกล้บัณฑิต เป็นเวลานานชั่วชีวิต คนโง่ก็หารู้พระธรรมไม่ เหมือนจวักไม่รู้รสแกง
อานุภาพแห่งบุญ
บางครั้งความเจ็บป่วยทำให้ลูกท้อ แต่เมื่อนึกถึงพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ลูกก็คิดว่าคนที่ท้อแท้เบื่อหน่ายเป็นคนตายก่อนหมดอายุ พระเดชพระคุณหลวงพ่อป่วยยิ่งกว่าเรา ท่านยังไม่ย่อท้อ ยังคงอดทนนั่งเทศน์สอนนักเรียนอนุบาลฝันในฝันได้ทุกคืน เป็นเวลานานหลายๆชั่วโมง เพราะอยากให้ทุกคนได้รับความสุขแห่งธรรม ทำให้ลูกมีกำลังใจฮึดสู้ต่อโรคร้าย และทำหน้าที่ผู้นำบุญมาจนปัจจุบัน
หลักวินิจฉัยว่าใครคือพุทธเถรวาท
หัวใจของพุทธศาสนาคือ พระรัตนตรัย เกณฑ์การวินิจฉัยว่าใครเป็นพุทธเถรวาทหรือไม่จึงอยู่ที่ว่า เขาเคารพบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือไม่
เจริญธัมมานุสติ
พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมนั้น
อานิสงส์ฟังสวดพระอภิธรรม
บัณฑิตทั้งหลาย ฟังธรรมแล้ว ย่อมมีจิตผ่องใส เหมือนห้วงนํ้าลึก ที่ใสสะอาด ไม่มีความขุ่น
เจริญสังฆานุสติ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์
พระพุทธคุณไม่มีประมาณ
ผู้ใดมีความศรัทธา ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า มีศีลอันงามที่พระอริยเจ้าสรรเสริญ มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้ที่มีชีวิตไม่เปล่าประโยชน์