มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - มีไมตรีจิตต่อกัน
ข้าแต่พญาหงส์ ในยามผลดกนกทั้งหลายก็ชุม แต่พอผลวายนกทั้งหลายก็ไปไม่เหลียวแล ตอนมีผลประโยชน์ใครๆ ก็เห็นคุณค่า แต่ตอนที่หมดประโยชน์ ใครบ้างเล่าจะนึกถึงผู้มีอุปการคุณ เราจะไม่ไปไหนทั้งนั้น ต้นไม้นี้เป็นทั้งเพื่อน เป็นทั้งญาติของเรา เราต้องการเป็นอยู่เพียงเท่านี้ ขอเพียงได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับต้นไม้ที่มีพระคุณกับเราเท่านั้น
มงคลที่ ๔ อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม - ทําสิ่งแวดล้อมให้เป็นปฏิรูปเทส ( ๓ )
โดยปกติเมื่อพระสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม แม้คนฟังยืนอยู่ข้างหน้า ข้างหลังหรืออยู่เลยไปร้อยจักรวาล พันจักรวาลก็ตาม อยู่ในรูปภพหรืออรูปภพก็ตาม ต่างพากันกล่าวว่า "พระศาสดาทอดพระเนตรดูเราคนเดียว ทรงแสดงธรรมโปรดเราคนเดียว" นี้คืออานุภาพแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - ในดีไม่มีเสียในเสียมีดี
การมองให้เห็นคุณค่าในทุกสิ่ง การรู้จักเลือกเอาแต่สิ่งที่ดี ที่มีประโยชน์จากสิ่งต่างๆ ออกมาใช้ จึงเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่สำคัญมาก และก็ต้องศึกษาธรรมชาติของทุกสิ่งให้กระจ่างแจ้ง จนสามารถสร้างสรรค์ทุกสิ่งได้อย่างเหมาะสม เพราะแม้ขยะเขายังเปลี่ยนมาเป็นปุ๋ยได้
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - ทําอย่างไรก็ได้อย่างนั้น
การสร้างบุญในแต่ละครั้งของชีวิต เป็นสิ่งที่เราขาดไม่ได้ แต่บางครั้งบางเวลาอาจจะเกิดความรู้สึกว่า ทำไมหนอ ความดีที่เราสั่งสมมามากมาย ยังไม่ให้ผลสักที เรารอคอยมายาวนานแล้ว หรือว่าคงทำดีแล้วไม่ ได้ดี เนื่องจากเราเกิดความรู้สึกว่า รอไม่ไหว
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - แรงบันดาลใจ ( ๑ )
พระราชาทรงมองดูลำต้น พลางดำริว่า ต้น มะม่วงต้นนี้ เมื่อเช้านี้เอง ยังเต็มไปด้วยผล เป็นพวงสวยงาม ทำความอิ่มตาเบิกบานใจให้แก่ผู้พบ เห็นที่ผ่านมาผ่านไป มาบัดนี้ ถูกเก็บผลหมดแล้ว มีกิ่งหักห้อยรุ่งริ่งดูไม่งาม แม้เราก็ควรเป็นเหมือนต้นไม้ที่ไม่มีผล พระองค์ทรงกำหนดไตรลักษณ์เช่นนี้ ทรงเจริญวิปัสสนา จนได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณ
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - รู้เท่าไม่ถึงการณ์ (๒)
คนพาลทำกรรมชั่วที่มีผลเผ็ดร้อน แล้วเดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นไม่ดี ไม่ควรกระทำ ส่วนบุคคลใดทำกรรมใดแล้ว มีหัวใจแช่มชื่นเบิกบาน ไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้น เป็นความดี ควรทำ
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - จนข้ามภพ รวยข้ามชาติ ( ๒ )
ในตอนนี้เรามาศึกษาวิธีแก้ความยากจนข้ามชาติของมหาทุคตะกัน ต่อ ว่าเขามีวิธีการอย่างไร ถึงตอนที่ มหาทุคตะ ออกปากรับคำที่จะเลี้ยงพระภิกษุรูปหนึ่งในจำนวน ๒๐,๐๐๐ รูปแล้ว เขารีบกลับบ้านไปชักชวนศรีภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก ให้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพเลี้ยงพระสัก ๑ รูป ภรรยาก็ไม่ขัดข้อง และกล่าวอนุโมทนาว่า พี่คิดถูกแล้ว เมื่อชาติก่อนเราไม่ได้ให้อะไรๆ ชาตินี้จึงต้องเกิดเป็นคนยากจน
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - จนข้ามภพ รวยข้ามชาติ ( ๓ )
พระองค์ทรงรับอาราธนา แล้วประทานบาตรแก่มหาทุคตะ มหาทุคตะรับบาตรไปด้วยความดีใจ เสมือนหนึ่งได้มหาสมบัติจักรพรรดิ น้ำตาไหลอาบแก้ม ด้วยความปลาบปลื้มปีติยินดี แม้พระราชามหาอำมาตย์ จะอ้อนวอน ขอบาตร หรือต่อรองขอซื้อบาตร ด้วยราคาเป็นแสน เขาก็ไม่ยอมขาย เพราะมหาทุคตะเป็นผู้มีปัญญา เห็นว่าบุญเท่านั้นที่จะเป็นสมบัติติดตัวไปได้ ทั้งในภพนี้และภพเบื้องหน้า จึงไม่ยอมยกบุญนี้ให้แก่ใคร
มงคลที่ ๑๓ สงเคราะห์ภรรยา(สามี) - ยอดนารีั ศรีภรรยา
การจะใช้ชีวิตคู่ให้ยั่งยืนจนตลอดชีวิตและมีความสุข ตามอัตภาพได้นั้น ภรรยาจำเป็นต้องรู้จักวิธีครองใจสามี จะประพฤติตามใจตัวเองไม่ได้ การอยู่ร่วมกันจึงเป็นการปรับตัวให้เข้ากับสังคมใหม่ และเริ่มสร้างครอบครัวใหม่ที่ไม่มีพ่อแม่มาคอยดูแลเราอีกต่อไป เราจะต้องดูแลตนเอง สามี พ่อแม่ของสามี ดูแลลูกๆ และหมู่ญาติรวมถึงบริวารอีกมากมาย เพราะฉะนั้น ภรรยาที่ดีจึงต้องศึกษาธรรมะที่จะช่วยประคับประคอง และทำให้ชีวิตคู่ราบรื่น โดยเริ่มต้นที่ตนเองก่อน
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - ราชฑูตรับใช้ตัวเอง
ตัณหาความทะยานอยาก เป็นสาเหตุของความทุกข์ เมื่ออยากได้ อยากมี อยากเป็น ก็ต้องแสวงหา และในการแสวงหา กว่าที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องฝ่าฟันอุปสรรคมากมาย ต้องคอยแก้ไขปัญหาสารพัด บางทีจะได้อะไรมาสักอย่างหนึ่ง เลือดตาแทบกระเด็น บางอย่างต้องเอาชีวิตเข้าแลกจึงจะได้มา เหมือนอย่างเรื่องของบุรุษคนหนึ่ง ที่ทั้งน่าทึ่งและน่าประหลาดใจ