ภูมิของพระโสดาบัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการคือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สัมมาทิฏฐิ ( ๕ )
พระพี่เลี้ยงได้ยินข่าวลือว่า "พระราชาทรงฟังถ้อยคำของอาชีวกผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ จึงรับสั่งให้รื้อโรงทานที่ประตูเมืองทั้งสี่ บัดนี้ทรงมัวเมาแต่เบญจกามคุณ มิได้สนพระทัยในพระราชกรณียกิจเลย"
คิดผิดคิดใหม่ได้ (๒)
ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินชีวิตอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้นหลังจากตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แล้วเสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้าเผ็ดร้อนโดยส่วนเดียว ด้วยธรรมจักขุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ทั้งหลาย
กรรมของการรังแกสัตว์
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง ใครทำกรรมใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
สูจิโลมยักษ์
บุคคลในโลกนี้ผู้มีความมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง แม้ถูกว่าเพียงเล็กน้อยก็ขัดเคือง มีอาการขึ้งเคียด มีความพยาบาทมาดร้าย เมื่อเขาตายจากโลกนี้ไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หากแม้นไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เมื่อไปสู่กำเนิดใด ก็จะมีผิวพรรณทราม
ถ้าจิตขุ่นมัวในขณะนั้น ตายแล้วไปไหน ?
ถ้าจิตขุ่นมัวในขณะนั้น ตายแล้วไปสู่อบายภูมิ มีนรก เป็นต้น สมดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ใน ปุคคลสูตร ว่า...
การทำร้ายผู้อื่นโดยการต่อสู้ป้องกันตัวถือว่าบาปหรือไม่
การที่เราต่อสู้ป้องกันตัวเอง ถ้าทำโดยสมเหตุสมผล ควรทำ แต่ว่าอย่าทำให้หนักเกินกว่าเหตุ อย่าให้ถึงตาย ถ้าถึงตายบาปนั้นจะทำให้เราอายุสั้นไม่คุ้มกัน
กาลกัญชิกาอสูร
บุคคลผู้เป็นคนพาลมีปัญญาทราม ย่อมประพฤติตนเป็นศัตรูต่อตนเอง ย่อมทำกรรมอันลามกที่ทำให้เดือดร้อนในภายหลัง เขาย่อมมีน้ำตานองหน้าร้องไห้คร่ำครวญอยู่ และต้องเสวยผล แห่งวิบากกรรมอันเผ็ดร้อนด้วยความทุกข์ทรมาน ส่วนบุคคลทำกรรมใดแล้ว ไม่เดือดร้อนในภายหลัง มีใจแช่มชื่นเบิกบาน ได้เสวยผลแห่งวิบากกรรมที่ดีนั้น ที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนและผู้อื่น ควรรีบลงมือกระทำกรรมนั้น
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - รู้เท่าไม่ถึงการณ์ (๒)
คนพาลทำกรรมชั่วที่มีผลเผ็ดร้อน แล้วเดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นไม่ดี ไม่ควรกระทำ ส่วนบุคคลใดทำกรรมใดแล้ว มีหัวใจแช่มชื่นเบิกบาน ไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้น เป็นความดี ควรทำ
ชีวิตมนุษย์ประเสริฐที่สุด
กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ การกลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นการยาก