๔๐ วิธี เพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย
ผู้ใดแล มีศรัทธาตั้งมั่นเกิดขึ้นแล้วแต่ รากแก้วคืออริยมรรค ประดิษฐานมั่นคง อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือผู้ใดผู้หนึ่งในโลก ไม่พรากไปได้ ควรเรียกผู้นั้นว่า เป็นบุตรเกิดแต่พระอุระ เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้เกิดแต่พระธรรม เป็นผู้ที่พระธรรมเนรมิตขึ้น เป็นผู้รับมรดกพระธรรม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคำว่า ธรรมกาย ก็ดี ว่าพรหมกาย ก็ดี ว่าธรรมภูต ก็ดี ว่า พรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต
ภาพบรรยากาศการอบรมสามเณร ณ ธุดงคสถานปราจีนบุรี
ความหมายของกายในคำว่าธรรมกาย ตอนที่ 2
นอกจากธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ในพระไตรปิฎกบาลียังกล่าวถึงธรรมกายของพระพุทธสาวกด้วยดังที่ปรากฏในมหาปชาบดีโคตมีเถรีอปทาน อันเป็นถ้อยคำที่พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีกราบทูลลาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อเสด็จปรินิพพาน
วันธรรมชัย 27 สิงหาคม วันแห่งการประกาศชัยชนะ
วันธรรมชัย คือ วันอุปสมบทของหลวงพ่อธัมมชโย วัดพระธรรมกาย คำว่า “ธรรมชัย” มาจากฉายาของหลวงพ่อธัมมยโชที่ได้รับในวันอุปสมบท มีความหมายว่า "ผู้ชนะโดยธรรม"
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๔)
ในชั้นนี้โดยรวมแล้วเราพบหลักฐานธรรมกายในประเทศไทยทั้งหมด ๑๔ ชิ้น แบ่งเป็นศิลาจารึก ๖ หลัก จารึกลานเงิน ๑ ชิ้นคัมภีร์จารึกใบลานหนังสือพับสารวม ๖ คัมภีร์และในรูปแบบหนังสืออีก ๑ เล่ม
ธุดงค์ธรรมชัย 6 จังหวัด 365 กม. รับปี 2555
วัดพระธรรมกายและมูลนิธิ ธรรมกาย โดยดำริของพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายและประธานมูลนิธิ ธรรมกาย ร่วมกับ 25 องค์กรภาคี จัดเดิน “ธุดงค์ธรรมชัย”
สำเร็จได้ดั่งใจในวันแห่งชัยชนะ...วันธรรมชัย
สถาบันธรรมชัยวิจัยนานาชาติDhammachaiInternational Research Institute หรือ DIRI โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นคว้าวิจัยคำสอนดั้งเดิม“พุทธวัจนะ”และให้ได้มาซึ่งหลักฐานยืนยันว่า ธรรมกายเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๕)
สืบเนื่องจากที่ผู้เขียนนำเสนอบทความ “การค้นพบหลักฐานธรรมกายจากเอกสารโบราณในประเทศไทย” ฉบับเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา กล่าวคือ คณะนักวิจัยของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ได้ทำการสืบค้นศึกษาวิจัยจนพบ หลักฐานร่องรอยธรรมกาย จากหลักศิลาจารึก....
ขอเชิญร่วมฟังเสวนา "หลักฐานวิชชาธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ครั้งที่ 2"
ขอเชิญกัลยาณมิตรลูกพระธัมฯทุกท่านเข้าร่วมฟังเสวนา "หลักฐานวิชชาธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ครั้งที่ 2" ในวันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม 2558 ตั้งแต่เวลา 8.00-18.00 น. ณ ห้องแก้วสารพัดนึก สภาธรรมกายสากล วัดพระธรรมกาย
มงคลที่ 38 - จิตเกษม - ธรรมกายต้นแหล่งแห่งความบริสุทธิ์
นักปราชญ์เหล่าใด เจริญสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ และอัปปณิหิตวิโมกข์ ไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนาของพระชินเจ้า นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นพระสยัมภูปัจเจกพุทธเจ้า ผู้มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมากมาย มีจิตเป็นอิสระ ข้ามห้วงทุกข์ทั้งมวลได้ มีจิตโสมนัส มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง