ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 149
พระเจ้าวิเทหราชทรงสดับคำตอบของอาจารย์เสนกะ ก็ทรงดีพระทัยยิ่งนัก ท้าวเธอจึงลองตรัสถามอาจารย์ที่เหลือตามลำดับ ครั้นแล้วก็ทรงได้รับคำตอบในทำนองเดียวกันทั้งสิ้น ไม่มีผู้ใดกราบทูลทัดทานเลย เมื่อเป็นดังนี้ ท้าวเธอก็ทรงคลายความระแวงพระทัย และทรงปักพระทัยมั่นที่จะเสด็จไปปัญจาลนครตามคำทูลเชิญของพระเจ้าจุลนี
เวทัพพชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการไม่รู้จักกาลเทศะ
พุทธกาลครั้งหนึ่งยังมีภิกษุชาวสาวัตถีรูปหนึ่ง มีความอวดดื้อถือดีจนเป็นที่เอือมระอาต่อภิกษุรูปอื่นๆ เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบท่านจึงทรงระลึกชาติด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณแล้วพบว่า ภิกษุรูปนี้เมื่อกาลก่อนก็เป็นผู้ว่ายากจนเป็นเหตุให้ตนเองและบุคคลเป็นพันๆ คน ต้องถึงแก่ความตาย
อนภิรติชาดก ชาดกว่าด้วยจิตขุ่นมัว ไม่ขุ่นมัว
ความสำเร็จในมรรคผล การบรรลุญาณสมาบัติของผู้ปฏิบัติกรรมฐานนั้น เกี่ยวข้องด้วยความสมถะสันโดษหลุดพ้นจากกิเลสอันอยากได้อยากมีเป็นอย่างยิ่ง ผู้ปฏิบัติภาวนา แม้สำเร็จญาณระดับใดแล้วก็ตาม แต่หากรับเอาอาสวะกิเลสเข้าจิตใจ แม้น้อยนิด ญาณวิเศษที่พากเพียรมา ก็จักเสื่อมลงถดถอยลงสิ้น
สาเกตชาดก ชาดกว่าด้วยวางใจคนที่ชอบใจ
ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดอัญชนวัน เมืองสาเกต เช้าตรู่วันหนึ่ง พระพุทธองค์พร้อมหมู่ภิกษุสงฆ์ได้เข้าไปบิณฑบาตในเมืองสาเกต พบพราหมณ์ผู้หนึ่งเดินสวนไปนอกเมือง จู่ๆ พราหมณ์ผู้นั้นก็เข้ามาหมอบแทบเท้า จับข้อเท้าไว้แน่น “ ลูก ธรรมดาบุตรต้องปรนนิบัติบิดามารดาในยามแก่ชรามิใช่หรือ ทำไมลูกจึงไม่มาเยี่ยมเราเลย
นันทิวิสาลชาดก ชาดกว่าด้วยการใช้วาจาไพเราะ
โคนันทิวิสาลได้กำลังใจจากพราหมณ์ ทำให้มีพลังใจมากมายประกอบกับชาวบ้านเมื่อเห็นภาพของพราหมณ์ที่พูดจาไพเราะให้กำลังใจโคของเขา จากที่เคยขบขันก็เกิดเป็นความประทับใจ พลอยให้กำลังใจเจ้าโคไปด้วย โคผู้กตัญญูรู้คุณออกแรงลากจนล้อเกวียนเริ่มหมุน เกวียนทุกเล่มก็เคลื่อนที่ตาม ๆ กัน
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 4
“โอ จริงๆ ด้วย เธอเป็นถึงพระอัครมเหสี นี่พระนางทรงพระครรภ์ด้วยหรือนี่ หม่อมฉันขอพระราชทานอภัยด้วย ที่แสดงอาการไม่สุภาพ” “ไม่เป็นไรหรอกจ้ะ” “แล้วพระเทวีจะไปที่ไหนต่อ พระเทวีทรงมีพระประยูรญาติอยู่ในเมืองนี้บ้างหรือไม่ละ” “ฉันไม่รู้จะไปทางไหนเหมือนกัน เพราะไม่รู้จักใครในเมืองนี้เลย”
พระศรีอริยเมตไตรย์สัมมาสัมพุทธเจ้า ตอนที่ 29 พระเจ้าสังขบรมจักรพรรดิ
ในช่วงที่พระศรีอริยเมตไตรย์สัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จลงมาบังเกิดบนโลกนั้น จะตรงกับสมัยของพระเจ้าจักรพรรดิ พระนามว่า “ สังขะ ” แห่งเกตุมดีนคร
เวสารัชชธรรม ๔
พระพิชิตมารผู้ถึงที่สุดโลก ทรงทำโลกทั้งหลายให้ยินดีด้วยพระรัศมี พระองค์ยังดอกปทุม คือ เวไนยสัตว์ให้บานด้วยพระดำรัส ทรงสมบูรณ์ด้วยเวสารัชชธรรม ๔ เป็นอุดมบุรุษ ละความกลัวและความยินดีได้เด็ดขาด ทรงถึงธรรมอันเกษม องอาจกล้าหาญ พระผู้เลิศในโลก ทรงปฏิญาณซึ่งฐานะของผู้องอาจและพุทธภูมิทั้งสิ้น ไม่มีใครจะทักท้วงได้ในฐานะไหนๆ
มหาบุรุษ อัครบุรุษแห่งโลก
บรรดาสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ทั้งที่เป็นสัตว์ ๒ เท้า ๔ เท้า มีเท้ามาก เท้าน้อย หรือไม่มีเท้าก็ตาม เป็นเทวา พรหม อรูปพรหมก็ดี พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นยอดแห่งสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น
อานิสงส์การอุปัฏฐาก
ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตน มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือพระสาวก การบำรุงนี้ ย่อมเยี่ยมกว่าการบำรุงทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งปวง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน