มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - ผู้มีปัญญาย่อมไม่โศก
วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์กับพราหมณ์ผู้เป็นพ่อ ได้ออกไปไถนาตั้งแต่เช้าตรู่ พ่อก็ไถนาไป ส่วนท่านกำลังเผาหญ้าอยู่ งูเห่าตัวหนึ่งได้เลื้อยออกมาจากโพรงไม้ เพราะกลัวถูกไฟเผา ด้วยความโกรธจึงกัดท่านทันที เมื่อรู้ว่าถูกงูพิษกัด ท่านจึงเรียกพ่อให้มาช่วย พ่อได้วิ่งมาดู แต่ไม่รู้ว่าจะช่วยอย่างไร
สัญญาแห่งความเลื่อมใส
ท่านจงเจริญพุทธานุสติ อันยอดเยี่ยมกว่าภาวนาทั้งหลาย ท่านเจริญพุทธานุสตินี้แล้ว จักยังใจให้เต็มได้
พระปิยทัสสีพุทธเจ้า (๔)
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นที่เสมอด้วยพระตถาคตไม่มีเลย แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า
สั่งสมบุญตลอดพรรษา
ชีวิตของสรรพสัตว์มีความตายเป็นที่สุด สัตว์ทั้งหลายจักเข้าถึงผลบุญและบาปที่ทำเอาไว้ ผู้ทำกรรมชั่วจักไปสู่นรก ส่วนผู้ทำกรรมดีจักไปสู่สุคติ เพราะฉะนั้น เมื่อสั่งสมกรรมอันมีผลในภายหน้า พึงทำแต่กรรมดีงาม บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในปรโลก
พระภัททิยะเถระ
ผู้ใดตัดความข้องทั้งปวงแล้ว บรรเทาความกระวนกระวายใจได้ ผู้นั้นถึงความสงบใจ เป็นผู้สงบระงับ ย่อมอยู่อย่างมีความสุข
พระมหากัปปินเถระ
บุคคล ผู้เอิบอิ่มในธรรม มีใจผ่องใส ย่อมอยู่เป็นสุข บัณฑิต ย่อมยินดีในธรรมที่พระอริยเจ้า ประกาศแล้วทุกเมื่อ
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - กาลเวลากับการเปลี่ยนแแปลง
เวลา ๑๐๐ ปีในโลกมนุษย์ เท่ากับชั่วครู่เดียวในสวรรค์เท่านั้นเอง ซึ่งไม่เพียงพอต่อการทำความดี ดังนั้นเราจึงไม่ควรประมาทในวัยและชีวิต จำเป็นที่จะต้องหมั่นประกอบความดี สร้างบารมีโดยไม่มีข้อแม้ ข้ออ้าง และเงื่อนไข เพื่อจะได้ดำเนินชีวิตไม่ผิดพลาด รีบสั่งสมบุญติดตัวไปข้ามภพข้ามชาติ เพราะบุญเป็นเพื่อนแท้ในการเดินทางไกลในสัมปรายภพ
เป้าหมายสูงสุดของชีวิต
ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทรงจำ เรากล่าวว่า เป็นบัณฑิต เพราะการยึดได้ซึ่งประโยชน์ในทิฏฐธรรม และประโยชน์ในสัมปรายภพ
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (๒)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางสุดโต่งสองอย่างบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ การทรมานตัวเองให้ลำบากและการประกอบพัวพันในกาม
ไม่มีอะไรสายเกินไป
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึงก็เป็นอันยังไม่ถึง