คิชฌชาดกว่าด้วยอำนาจบุญคุณ
คิชฌชาดก พญาแร้งผู้มีความกตัญญู ผู้ที่สามารถนำพาเหล่าฝูงแร้งให้อยู่รอดปลอดภัยได้ในทุกสถานการณ์ แต่ตัวมันเองกลับต้องถูกจับเพื่อให้พระเจ้าแผ่นดินลงอาญา...พญาแร้งจะมีโอกาสรอดชีวิตหรือไม่?...เกิดอะไรขึ้นกับพญาแร้ง?
สิคาลชาดก ชาดกว่าด้วยพราหมณ์เชื่อสุนัข
สุนัขจิ้งจอกเจ้าเล่ห์เข้ามากินอาหารซึ่งชาวเมืองนำมาบวงสรวงแก่ยักษ์ไว้ตามทางแพร่งและริมกำแพงเมือง มันกินอาหารและเผลอหลับไป ตื่นมาตอนเช้ามันก็ไม่สามารถออกไปนอกเมืองได้ และมันก็ได้ใช้อุบายหลอกพราหมณ์ผู้โลภมากให้พามันออกไปจากที่หลบซ่อนได้ในที่สุด
จันทกินรีชาดก-ชาดกว่าด้วยความผูกพันจงรักภักดี
ครั้งเมื่อพระพุทธศาสดาเสด็จสู่แคว้นสักกะแห่งศากยวงศ์ พร้อมพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องซ้ายและขวาและสังฆสาวกทั้งมวล พุทธกาลครั้งนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์นครหลวงของแคว้นสักกะ เพื่อแสดงธรรมโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดา
โภชาชานียชาดก-ชาดกว่าด้วยความเพียรอันยิ่งใหญ่
พุทธกาลครั้งนั้น ณ เชตวันมหาวิหารในนครสาวัตถี สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพระเมตตาธิคุณต่อพระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งกำลังเบื่อหน่ายคลายความเพียรลง ทรงอนุเคราะห์ด้วยพุทธวาจาว่า “ดูก่อนภิกษุ บัณฑิตในกาลก่อนนั้นได้ทำความเพียรที่ไม่น่าจะทำได้ แม้ได้รับบาดเจ็บสาหัสเพียงใด ก็มิได้ละความเพียร” แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงระลึกชาติด้วย บุพเพนิวาสนุสติญาณด้วยชาดกขึ้นเรื่องหนึ่ง โภชาชานียชาดก ความเพียรอันยิ่งใหญ่
โกสิยชาดก ชาดกว่าด้วยถ้อยคำกับการกินไม่สมกัน
นางโกสิยพราหมณี ซึ่งเป็นหญิงที่มีนิสัยหยาบช้า ลามก มักมากในกาม นางนั้นหลุ่มหลงอยู่ในกามราคะ ประพฤติผิดประเวณี คบชู้สู่ชายและมักใช้เล่ห์กลมารยาแกล้งป่วย ไม่ทำการงาน ให้พราหมณ์หนุ่มผู้เป็นสามีบำรุงบำเรอด้วยอาหารที่ดีและปราณีตอยู่เป็นประจำ
มณิโจรชาดก ชาดกว่าด้วยพระเจ้าอธรรมิกราช
พ้นพรรษาฤดูหนึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร อันพระเจ้าพิมพิสารถวายให้ พระองค์ทรงปรารภ พระเทวทัตผู้พยายามปลงพระชนม์แก่ภิกษุสงฆ์ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเทวทัตพยามยามฆ่าเรา ใช่ว่าแต่ครั้งนี้ก็หาไม่ แม้ครั้งก่อนก็พยามยามฆ่าเรามาแล้ว”
นิโครธมิคชาดก ชาดกว่าด้วยการเลือกคบ
นิโครธมิคชาดก บางครั้งการเคร่งครัดต่อกฏระเบียบข้อบังคับมากเกินไปจนลืมนึกถึงเหตุและผลที่สมควร ก็กลับกลายเป็นเรื่องที่ขาดคุณธรรมไปได้ ติดตามเรื่องราวการปกครองเหล่าบริวารของพญากวางสาขะและพญากวางนิโครธะ ชึ่งให้ข้อคิดและสามารถนำมาปรับใช้กับหลายๆ เหตุการณ์ในปัจจุปันได้