ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท
ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท เห็นภัยในความประมาท ย่อมเผากิเลสเครื่องผูกมัดได้ เหมือนไฟเผาเชื้อทุกชนิด
ภิกษุผู้ไม่ประมาท เห็นภัยในความประมาท
ภิกษุผู้ไม่ประมาท เห็นภัยในความประมาท ไม่มีทางเสื่อม ย่อมอยู่ใกล้นิพพานเป็นแน่แท้
บัณฑิตรู้ข้อแตกต่าง ระหว่างความประมาทกับความไม่ประมาท
บัณฑิตรู้ข้อแตกต่าง ระหว่างความประมาทกับความไม่ประมาท จึงยินดีในความไม่ประมาท อันเป็นแนวทางของพระอริยะ
อาสวกิเลส
มารย่อมค้นไม่พบวิถีทางของผู้ทรงศีล ผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท ผู้หลุดพ้นจากอาสวกิเลส เพราะรู้ชอบ
ความวิเศษสุดของพระพุทธศาสนา
ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในศีล สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ หมั่นประกอบความเพียร ภิกษุผู้มีปกติพากเพียรอยู่อย่างนี้ ไม่เห็นแก่นอน ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน เจริญกุศลธรรมเพื่อบรรลุคุณอันเกษมจากโยคะ ผู้ยินดีในความไม่ประมาท มีปกติเห็นภัยในความประมาท เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อม ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติใกล้พระนิพพานทีเดียว
ความไม่ประมาท
ความไม่ประมาท คือการมีสติกำกับตัวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะคิด จะพูด จะทำสิ่งใดๆ ไม่ยอมถลำลงไปในทางที่เสื่อม และไม่ยอมพลาดโอกาสในการทำความดี ตระหนักดีถึงสิ่งที่ต้องทำ ถึงกรรมที่ต้องเว้น ใส่ใจสำนึกอยู่เสมอในหน้าที่ ไม่ปล่อยปละละเลย กระทำอย่างจริงจังและดำเนินรุดหน้าตลอดเวลา
คนพาล
คนพาล คือ คนที่มีใจขุ่นมัวเป็นปกติ เป็นผลให้มีความเห็นผิด ยึดถือค่านิยมผิดๆ และมีวินิจฉัยเสีย คือไม่รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรควร อะไรไม่ควร
สันติภาพโลกเป็นจริงได้
ท่านทั้งหลายจงยินดีในความไม่ประมาท จงตามคุ้มครองจิตของตน จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างที่ตกหล่ม ถอนขึ้นจากหล่มได้ฉะนั้น
องค์อัมรินทราธิราช
ท้าวสักกเทวราช ถึงความเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทพยดาทั้งหลาย เพราะความไม่ประมาท บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาทไม่ว่าในกาลไหนๆ บัณฑิตทั้งหลายย่อมติเตียนความประมาท
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - แม้เป็นเทวดาก็อย่าประมาท
วลาในโลกนี้แสนสั้น เดี๋ยววันเดี๋ยวคืน ยังไม่ทันได้สั่งสมบุญให้เต็มอิ่ม ความชราก็เข้ามาเยือนแล้ว บางคนเกิดมายังไม่ทันได้สั่งสมบุญ กรรมในอดีตก็มาตัดรอนเสียก่อน ทำให้มีเหตุที่ต้องละสังขารไปก่อนถึงเวลาอันควร ดังนั้น เราจึงไม่ควรประมาทในชีวิต ให้เห็นคุณค่าของเวลาแต่ละนาทีที่ผ่านไป โดยมีสติเตือนตนเสมอว่า เราจะไม่ประมาท โดยเฉพาะไม่ประมาทในการประพฤติธรรม