พระอรหันต์มีจริง
พระอริยบุคคลเหล่าใด ในศาสนาของพระพุทธเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว มีใจมั่นคง ไม่หวั่นไหว ปราศจากความอาลัยทั้งปวง พระอริยบุคคลเหล่านั้น บรรลุพระอรหันต์แล้ว เข้าถึงพระนิพพาน เสวยสุขอยู่ รัตนะนี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระอริยสงฆ์ ด้วยสัจจะวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทั้งหลาย
ธรรมะเพื่อประชาชนจำนวนองค์พระธาตุในเจดีย์
เจดีย์พระบรมธาตุแต่ละแห่งจะบรรจุจำนวนองค์พระบรมในปริมาณที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอะไร ตัวอย่างจำนวนองค์พระบรมธาตุที่บรรจุในเจดีย์สำคัญบางองค์ ตำแหน่งที่ประดิษฐานองค์พระธาตุในเจดีย์
พระพุทธศาสนาความหมายของกายในคำว่าธรรมกาย ตอนที่ 2
นอกจากธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ในพระไตรปิฎกบาลียังกล่าวถึงธรรมกายของพระพุทธสาวกด้วยดังที่ปรากฏในมหาปชาบดีโคตมีเถรีอปทาน อันเป็นถ้อยคำที่พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีกราบทูลลาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อเสด็จปรินิพพาน
ธรรมกายความหมายของกายในคำว่าธรรมกาย
คำว่า ธรรมกาย เป็นศัพท์สมาส ที่อาจแปลเป็นคำคุณศัพท์ว่า ผู้มีธรรมเป็นกาย หรืออาจแปลเป็นคำนามก็ได้ว่า กายแห่งธรรม กายคือธรรมหรือ กายที่ประกอบด้วยธรรม
ธรรมกายความหมายของ ธรรม ในคำว่า ธรรมกาย
ธรรม ในคำว่าธรรมกาย ที่เป็นพระนามหนึ่งของพระตถาคตนั้นจึงควรหมายถึง โลกุตตรธรรม คือ มรรค ผลนิพพาน ที่เมื่อเข้าถึงแล้ว สามารถเปลี่ยนแปลงปุถุชนให้เป็นอริยบุคคล และเปลี่ยนอริยบุคคลชั้นต้นให้เป็นอริยบุคคลเบื้องสูงขึ้นไปได้นั่นเอง
ธรรมกายความสุขของพระโสดาบัน
ความทุกข์ที่หมดไปของอริยสาวกผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาทิฏฐิ บรรลุอริยมรรคแล้ว มีปริมาณมาก ส่วนความทุกข์ที่ยังเหลืออยู่ มีประมาณน้อย ความทุกข์ที่จะมีอีก ๗ อัตภาพเป็นอย่างยิ่งนั้น เมื่อเทียบกันเข้ากับกองทุกข์ที่หมดสิ้นไปอันมีอยู่ในครั้งก่อนแล้ว ย่อมไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ เลย ภิกษุทั้งหลาย การได้บรรลุอริยธรรม ย่อมให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้แล การได้ธรรมจักษุ ย่อมให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้
ธรรมะเพื่อประชาชนความประเสริฐของพระโสดาบัน
โสดาปัตติผล ประเสริฐกว่าความเป็นเอกราชในแผ่นดิน ประเสริฐกว่าการไปสู่สวรรค์ และความเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง
ธรรมะเพื่อประชาชนภูมิของพระโสดาบัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการคือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
ธรรมะเพื่อประชาชนภูมิของพระอนาคามี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๓ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ มีความสิ้นไปแห่งสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ อย่าง เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่เวียนกลับมาจากโลกนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยบุคคลนี้คือ สมณะที่ ๓ ในพุทธศาสนา
ธรรมะเพื่อประชาชนปัญจสุทธาวาส
ภิกษุเมื่อจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน มั่นคง ถึงความไม่หวั่นไหว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อแสดงฤทธิ์ เธอย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ย่อมสามารถลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมาก ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เปรียบเหมือนช่างหม้อหรือลูกมือของช่างหม้อผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใด ก็ทำภาชนะชนิดนั้นให้สำเร็จได้
ธรรมะเพื่อประชาชน