ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 62
วาทะของมโหสถในครั้งนี้ เป็นดุจไม้หน้าสามที่ตีแสกลงกลางกระหม่อมของอาจารย์เสนกะเสียจนหน้าคว่ำไม่ เป็นท่า เพราะไม่ว่าใครหากได้ตรองตามสักหน่อย ก็ย่อมจะเห็นชัดว่า คำพูดของอาจารย์เสนกะผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง เพราะในขณะที่กำลังยกตนว่าเป็นบัณฑิตผู้มีปัญญาที่ถึงอย่างไรก็ต้องยอม สวามิภักดิ์ต่อผู้มีทรัพย์อยู่ดี นั่นก็เท่ากับแฝงนัยยะว่า พระราชาเป็นเพียงผู้มีทรัพย์แต่พระองค์หามีปัญญาไม่
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 61
มโหสถบัณฑิต ไม่ได้มองเพียงแค่ในชาตินี้เท่านั้น แต่ได้มองไกลออกไปถึงในภพชาติเบื้องหน้า เพราะเห็นชัดถึงคุณและโทษของทรัพย์ว่า ถ้าหากขาดปัญญาในการใช้สอยแล้ว ก็มีสิทธิ์ที่จะใช้ทรัพย์ไปในทางที่เป็นบาป เช่นนำไปเสียให้กับอบายมุข นำไปดื่มสุรา เล่นการพนัน และเที่ยวกลางคืนเป็นต้น ทรัพย์นั้นแทนที่จะเรียกได้ว่าเป็นทรัพย์สมบัติ แต่จะกลายเป็นทรัพย์วิบัติไป เพราะนำความวิบัติมาให้ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - เปลี่ยนวิถีชีวิตด้วยบุญบารมี
เรื่องมีอยู่ว่า พญาปฐวินทรนาคราช ผู้ได้เสวยสุขอยู่ในนาคพิภพ สมบูรณ์ด้วยสมบัติอันโอฬารล้วนด้วยรัตนชาติ พรั่งพร้อมด้วยเบญจกามคุณทั้งห้า ครั้นได้เสวยสุขสมบัติอันซ้ำซากจำเจอย่างนั้นนานวันเข้า เกิดความเบื่อหน่ายในนาคพิภพ อันเป็นปกติของหมู่สัตว์ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ จึงดำริอยู่ในใจว่า"แม้เราจะสมบูรณ์พรั่งพร้อมด้วยรัตนสมบัติมากมาย แต่ก็ไม่ได้ประเสริฐเท่าใด เพราะยังไม่พ้นจากกำเนิดของสัตว์ที่ต้องเลื้อยคลานไปได้"
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - บุญยังความปรารถนาให้สําเร็จ
พระเถระท่านนี้มีนามว่า พระมหากัจจายนะ เป็นพระอรหันตเถระ ผู้มีผิวพรรณงดงามประดุจทองคำ ท่านมีประวัติ การสร้างบารมีที่น่าสนใจมาก เช่น กระทำการบูชาพระผู้มีพระภาคด้วยการถวายแผ่นอิฐทองคำมีค่าแสนหนึ่ง ทำเป็นฐานของพระสุวรรณเจดีย์ และตั้งความปรารถนาว่า "ด้วยอานุภาพแห่งบุญที่บังเกิดขึ้น จากการถวายแผ่นอิฐทองคำนี้ ทุกภพทุกชาติที่ได้เกิด ขอให้สรีระของข้าพเจ้าจงมีวรรณะเหมือนทองคำ"
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - ไม่มีความเห็นผิด ชีวิตปลอดภัย
ปัจจุบันนี้ เราอยู่ในยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน ยุคที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า โลกาภิวัตน์ แม้จะอยู่ไกลกันคนละซีกโลก ก็สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารภายในเวลาไม่กี่นาที แต่ในความเป็นจริงแล้วเรายังตกอยู่ในกระแสโลกที่เรียกว่า โลกานุวัตร หมายความว่า เป็นไปตามโลก เพราะฉะนั้น สิ่งที่ควรระวังจากการรับฟังข่าวสาร คือ เมื่อได้ยินได้ฟังเรื่องใดแล้ว ควรใช้โยนิโสมนสิการ คือ พิจารณา ให้ละเอียดรอบคอบ ใช้สติและปัญญาพิจารณาเหตุผล
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - บุญคือฉากหลังของทุกชีวิต
เรื่องราวของพระอุบาลีเถระ เป็นพระเถระผู้มีชื่อเสียงมากในสมัยพุทธกาล ตัวของท่านได้รับแต่งตั้งจากพระบรมศาสดาให้เป็นผู้ที่เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านทรงจำพระวินัย มาติดตามกันเลยว่าท่านได้กระทำเหตุไว้อย่างไรจึงได้เป็นผู้ที่เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านทรงจำพระวินัย
มงคลที่ ๑ ไม่คบคนพาล - คนพาลไม่ต้องการเหตุผล
หากเรารู้ว่า ใครเป็นคนพาล เราควรรีบหลีกหนีให้ห่างไกล เพราะยิ่งอยู่ร่วมกันนาน จะยิ่งติดเชื้อพาล ซึ่งมีแต่จะนำความวิบัติความเสื่อมเสียมาให้ เหมือนดังเรื่องของแม่แพะ ที่พูดจาอ่อนหวาน แต่ในที่สุดก็ต้องถูกเสือจับกินเป็นอาหาร เรื่องมีอยู่ว่า
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 19
นารทดาบสต้องการให้พระโพธิสัตว์สมาทานมั่น จึงถวายข้อคิดว่า “พระองค์ เพียงแต่ทรงเพศบรรพชิตนี้ จะสำคัญว่า เราข้ามพ้นกิเลสแล้วหาได้ไม่ กรรมคือกิเลสนี้ ไม่ใช่ว่าจะพึงข้ามได้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เพราะยังมีอันตรายอยู่มาก”
โอ้เจ้าหนี้
หญิงชาวไต้หวัน...เธอต้องกำพร้าพ่อ ตั้งแต่ยังเด็ก แม่ของเธอต้องทำงานหนัก เพื่อหาเงินมาเลี้ยงลูกๆ ทั้งๆที่ไม่มีความรู้ ต่อมาแม่ของเธอมีสามีใหม่ เพื่อหวังว่าจะเป็นที่พึ่ง ช่วยกันหาเลี้ยงครอบครัว แต่ทุกอย่างกลับเลวร้ายลง...หลังจากพ้นมาจากพ่อเลี้ยง ได้อยู่กันพร้อมหน้าแม่-ลูก เธอกับแม่ก็ต้องมาทำงานหาเงินใช้หนี้ให้กับภรรยาของน้องชายอีก...เมื่อเธอมีคนรัก หวังว่า เขาคือคนที่ใช่ แต่แล้วก็ต้องผิดหวัง
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑๘ ( ผดุงคุณธรรม )
บุคคลนั่งหรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่พึงหักรานกิ่งของต้นไม้นั้นเพราะผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นผู้ชั่วช้า ข้าแต่มหาราชเจ้า ถ้าบุคคลหักกิ่งต้นไม้ที่ตนได้บริโภคชื่อว่าเป็นผู้ประทุษร้ายมิตรไซร้ ผู้ที่ประทุษร้ายต่อผู้มีพระคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม จะเป็นคนเช่นไรเล่า