พรหมปุโรหิตาภูมิ
ดูก่อนเกวัฏฏะ อิทธิปาฏิหาริย์ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งบัลลังก์เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจกาย ไปตลอดพรหมโลกก็ได้
ฝึกใจให้หยุดนิ่ง
ท่านทั้งหลายพึงทำความเพียรเครื่องเผากิเลส พระตถาคตทั้งหลายเป็นแต่เพียงผู้ชี้บอก เหล่าชนผู้ดำเนินตามแล้ว มีปกติเพ่งพินิจ ย่อมหลุดพ้นจากเครื่องผูกแห่งมารได้
ธรรมกายคือหลักของชีวิต
เมื่อใดบัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้นเขาย่อมหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด
สำรวมอินทรีย์นำชีวีพ้นทุกข์
ก็ผู้ใด รู้ไม่เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน ผู้นั้นย่อมตกอยู่ในอำนาจของศัตรู และจะเดือดร้อนในภายหลัง ส่วนผู้ใด รู้เท่าทันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน ผู้นั้นก็จะพ้นจากการเบียดเบียนของศัตรู เหมือนไก่พ้นจากกรงเล็บของแมว ฉะนั้น
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ - ญาติธรรมและธรรมทายาท
แม้พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงสละพระราชทรัพย์ถึง ๙๖โกฏิ สร้างพระวิหาร ๘๔,๐๐๐หลัง ไว้ในพระพุทธศาสนา พระองค์ทรงเป็นได้เพียงแค่โยมอุปัฏฐากเท่านั้น ครั้นทรงถวายพระกุมารและพระราชธิดา ผู้เป็นประดุจแก้วตาดวงใจไว้ในพระพุทธศาสนา จึงได้ชื่อว่าเป็นทายาทในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - ๓๐ ปีที่รอคอย
"ท่านอาจารย์ผู้ว่างเปล่า อย่าทำตนเป็นผู้ไม่ว่างอยู่เลย ท่านไม่รู้ตัวหรือว่าขณะนี้ท่านเป็นผู้ที่ประมาทแล้ว ตัวของท่านเป็นเสมือนแผ่นกระดานสำหรับให้คนทั้งหลายเดินข้ามไป ท่านเป็นที่พึ่งให้แก่คนอื่นก็จริงอยู่ แต่ท่านไม่สามารถเป็นที่พึ่งให้กับตนเองได้ แล้วจะมีประโยชน์อะไร..."
ภพสาม คุกใหญ่ของสรรพสัตว์
ชนทั้งหลายบางพวก ย่อมเข้าถึงครรภ์ ผู้ทำบาปอกุศล ย่อมเข้าถึงนรก ผู้สั่งสมความดีเป็นเหตุสุคติ ย่อมไปสู่สวรรค์ ผู้ไม่มีกิเลสอาสวะ ย่อมปรินิพพาน
คิดผิดคิดใหม่ได้ (๓)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาล ๔ อย่างที่บุคคลบำเพ็ญโดยชอบ ให้เป็นไปโดยชอบ ย่อมให้ถึงความสิ้นอาสวะโดยลำดับ กาล ๔ นี้คือ การฟังธรรมตามกาล การสนทนาตามกาล การสงบตามกาล และการพิจารณาตามกาล กาล ๔ อย่างนี้ อันบุคคลบำเพ็ญโดยชอบ ให้เป็นไปโดยชอบ ย่อมให้ถึงความสิ้นอาสวะโดยลำดับ
วิสาขามหาอุบาสิกา (มหาปราสาท)
พระเจ้ามหาปนาทนั้นมีปราสาทล้วนแล้วไปด้วยทอง กว้าง ๑๖ ชั่วธนูตก สูง ๑ พันชั่วธนู และปราสาทนั้นมีพื้น ๗ ชั้น ประกอบไปด้วยธง สำเร็จด้วยแก้วมีสีเขียว มีนางฟ้อน ๖ พัน แบ่งออกเป็น ๗ พวก ฟ้อนรำอยู่ในปราสาทนั้น
สังเกตคนดีที่ความประพฤติ
บุคคลผู้ประสงค์จะไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป (คือ อายตนนิพพาน) ต้องตามรักษาจิตของตน เหมือนคนประคองภาชนะน้ำมันที่เต็มเสมอขอบปากที่ไม่พร่องไว้ฉะนั้น