พัพพุชาดก-ตอนที่ 2-ชาดกว่าด้วยวิธีให้แมวตาย
ย้อนไปในอดีตกาลในยุคสมัยที่พระเจ้าพรหมทัตเสวยพระราชสมบัติปกครองแคว้นพาราณสีอยู่นั้น พระโพธิสัตว์ในยุคนั้นได้บังเกิดเป็นช่างสลักหิน ในเวลานั้นช่างสลักหินผู้นี้ได้เติบโตเจริญวัยเป็นหนุ่มศึกษาวิชาศิลปะจนสำเร็จ
สัตติคุมพะชาดก ชาดกว่าด้วยเรื่องการคบหาคนพาล
สารัตถะแห่งพระพุทธศาสนาข้อสำคัญที่ประจักษ์แจ้งทั่วกันอย่างหนึ่งก็คือ อนิจจัง ความไม่เที่ยงไม่จีรังยั่งยืนของสรรพสิ่ง ในแผ่นดินมคธซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปักธงชัยประกาศศาสนาไว้ ก็ไม่พ้นจากความจริงจากข้อนี้ได้ เมื่อสิ้นอำนาจพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าอชาตศัตรูผู้ทำปิตุฆาตขึ้นครองมคธตามคำยุยงของพระเทวทัต
การันทิยชาดก ชาดกว่าด้วยการทำที่เหลือวิสัย
“ พระคุณท่านคนเหล่านั้นเขาไม่ได้รักษาศีล ดังที่รับศีลไว้เลยนะขอรับ ” “ แต่นี้ต่อไปขอพระธรรมเสนาบดี จงหยุดให้ศีลแก่ผู้ไม่พอใจรับอีกเลย พวกพรานใจบาป นักเลงหัวขโมยพวกนั้น ไม่อาจขัดขืนถ้อยคำพระเถระเจ้า จึงรับศีลไป แต่จิตใจมิได้ยอมรับตามเลยแม้แต่น้อย ” ศิษย์ทั้งหลายของพระสารีบุตรกล่าวขอดังนี้อยู่หลายครั้ง แต่มิได้ทำให้การศีลหยุดลงแต่ประการใด “ ไม่เป็นไรหรอกรับศีลไปทุกวัน สักวันหนึ่งเขาก็คงประพฤติปฏิบัติศีลได้เอง
มงคลที่ ๙ มีวินัย - ศีล เส้นทางสู่ความเป็นมนุษย์
ศีล เป็นคุณธรรมที่จะคุ้มครองรักษากาย วาจา ใจ ของเราให้เรียบร้อยสมบูรณ์ เป็นคุณธรรมเบื้องต้นที่จะส่งให้เราเข้าถึงสมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นหนทางแห่งการบรรลุมรรคผลนิพพาน การรักษาศีลมีจุดประสงค์หลายประการด้วยกัน อย่างน้อยก็เป็นเกราะคุ้มกันชีวิตของเราในปัจจุบันชาตินี้ ไม่ให้พบกับความทุกข์ ความเดือดร้อน และความเสื่อมเสียอันสืบเนื่องจากการเบียดเบียนผู้อื่น
สสปัณฑิตชาดก ชาดกว่าด้วยผู้สละชีวิตเป็นทาน
“ มิจำเป็นที่ผู้อื่นจะต้องล่วงรู้หรอกท่านพญากระต่าย คุณความดีในการเสียสละชีวิตเพื่อให้ทานของท่านในครั้งนี้จะคงอยู่ปรากฎตลอดไป ” ทันทีที่กล่าวจบท้าวสักกะในร่างของพราหมณ์ ก็ทำการเขียนรูปของพญากระต่ายไว้บนดวงจันทร์ เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ในการเสียสละครั้งนี้ให้อยู่สืบไป
อกตัญญุตาชาดก-ชาดกว่าด้วยคนอกตัญญู
พุทธกาลสมัยหนึ่งครั้งเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์สาวกทั้งหลายกลับจากกรุงราชคฤห์ แผ่นดินมคธมาสู่พระเชตวันมหาวิหาร ณ นครสาวัตถี ในโกศลรัฐนั้น สิ่งร้าวรานที่เกิดจาก เทวทัตเถระ กระทำย่ำยีต่อพระพุทธศาสนาในการแบ่งแยกหมู่สงฆ์และสะพิงบัญญัติใหม่แปลกไปจากพุทธวินัยในแคว้นมคธก็กลายเป็นข้อวิภาคเจ็บร้อนขึ้นในธรรมสภา
เวทัพพชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการไม่รู้จักกาลเทศะ
พุทธกาลครั้งหนึ่งยังมีภิกษุชาวสาวัตถีรูปหนึ่ง มีความอวดดื้อถือดีจนเป็นที่เอือมระอาต่อภิกษุรูปอื่นๆ เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบท่านจึงทรงระลึกชาติด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณแล้วพบว่า ภิกษุรูปนี้เมื่อกาลก่อนก็เป็นผู้ว่ายากจนเป็นเหตุให้ตนเองและบุคคลเป็นพันๆ คน ต้องถึงแก่ความตาย
เทวธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของเทวดา
“ดูก่อนภิกษุในศาสนาของเรานี้ ล้วนสรรเสริญคุณของความเป็นผู้มักน้อย สันโดษ รักสงบ เพียรผลาญกิเลสให้สิ้นไปมิใช่หรือ? แล้วทำไมท่านกลับถึงทำสิ่งไม่ควรเช่นนี้เล่า” พระภิกษุเจ้าสำรวย ได้ฟังคำพระพุทธเจ้าแล้ว แทนที่จะสำนึกผิดกลับบันดาลโทสะ ประชดประชัน ทำสิ่งมิควรอีก
จุลลโพธิชาดก ชาดกว่าด้วยความโกรธ
ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่าความโกรธ เธอควรจะห้ามเสีย อันความโกรธเห็นปานนี้ ที่จะทำประโยชน์ให้ในโลกนี้และโลกหน้าเป็นไม่มี เธอบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าที่ไม่โกรธแล้ว เหตุไรจึงยังโกรธเล่า
วาตมิคชาดก-ชาดกว่าด้วยอำนาจของรส
ครั้งเมื่อมคธรัฐปรากฎแสงธรรมะซึ่งพระสัมมาสัมพุทธได้ตรัสรู้เจ้าอริยสัจสี่ให้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาในความจริงแห่งสังสารวัฏจนครอบคลุมไปทั่วแคว้นใหญ่แห่งนี้นั้น กุลบุตรตระกูลต่างๆ ก็พากันสละเพศผู้ครองเรือนออกติดตามพระผู้ชนะมารไปยังกรุงสาวัตถีแคว้นโกศลอย่างมากมายเพื่อออกบวชเป็นภิกษุสงฆ์ของพระสมณะโคดม