ผู้มีปัญญา
ปัญญา หมายถึง ความฉลาด ความรอบรู้ ความเข้าใจชัดในสิ่งต่างๆ ผู้มีปัญญาย่อมรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จักเหตุผล คือ รู้จักสืบสวนจากผลไปหาเหตุ และจากเหตุไปหาผล
ผู้รักในการทำความดี
ผู้มีปัญญา ทำกุศลอยู่คราวละน้อยๆ ทุกๆ ขณะโดยลำดับ พึงกำจัดมลทิน คือกิเลสของตนได้ เหมือนช่างทองขจัดมลทินของทองให้หมดไปได้ฉะนั้น
คนพาล
คนพาล คือ คนที่มีใจขุ่นมัวเป็นปกติ เป็นผลให้มีความเห็นผิด ยึดถือค่านิยมผิดๆ และมีวินิจฉัยเสีย คือไม่รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรควร อะไรไม่ควร
การควบคุมจิตด้วยปัญญา
ถ้าเรามีจิตไม่ถูกปรุงแต่ง ก็เรียกว่า เรามีจิตเป็นพุทธะขึ้นมา เป็นผู้รู้ขึ้นมาทันที รู้อะไรถูกต้องขึ้นมาแล้วก็เป็นตัวเองอย่างแท้จริง สภาพมันอยู่คงที่หน้าตาของมันดั้งเดิม ของมันปรากฏอยู่อย่างนั้น ไม่ถูกฉาบไปด้วยกิเลส เรียกว่า ไม่ถูกปรุงแต่ง สภาพจิตมันเป็นอย่างนั้น...
ความขยัน ความไม่ประมาท
ด้วยความขยัน ด้วยความไม่ประมาท ด้วยความสำรวมระวัง และด้วยการข่มใจตนเอง ผู้มีปัญญาควรสร้างเกาะ (ที่พึ่ง) แก่ตน ที่ห้วงน้ำ (กิเลส) ไม่สามารถท่วมได้
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๖ ( ผู้ผดุงความยุติธรรม )
หนุ่มชาวนาตื่นขึ้นมาไม่เจอโคของตน ก็รีบวิ่งออกติดตามรอยเท้าโคไป เมื่อตามไปพบก็ร้องบอกโจรให้นำโคคืนมา ตนจะไม่เอาเรื่องเอาราวอะไร แต่เหตุการณ์กลับตรงข้าม เพราะโจรอ้างว่าโคนี้เป็นของเขา เมื่อไม่ยอมกันทั้งสองเกิดการทะเลาะวิวาท ชาวบ้านจึงพามาหามโหสถให้ช่วยตัดสินว่า ใครเป็นเจ้าของโคตัวนี้กันแน่
มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - รอดชีวิตเพราะพหูสูต
เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา เสวยพระชาติเป็นพราหมณ์ปุโรหิต ชื่อว่า เสนกบัณฑิต ผู้มีปัญญามาก ในตอนนี้ท่านได้ช่วยพราหมณ์ชราให้พ้นภัยจากงูร้ายที่เข้าไปอยู่นอนกินข้าวสตุก้อน ข้าวสตุผง อยู่ในไถ้ของพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันชาญฉลาด เหตุการณ์ทั้งหมดจะเป็นอย่างไรนั้น
อานิสงส์ถวายเสา ๕ ต้น ร่วมสร้างโรงฉัน
สัตบุรุษย่อมให้ทาน คือ ข้าวและน้ำที่สะอาด ประณีตตามกาล สมควร เนืองนิตย์ ในผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เป็นเขตดี บริจาคของมากแล้วก็ไม่รู้สึกเสียดาย ท่านผู้มีปัญญาเห็นแจ้งย่อมสรรเสริญทานที่สัตบุรุษให้แล้วอย่างนี้ เมธาวีบัณฑิตผู้มีศรัทธา มีใจอันสละแล้ว บริจาค ทานอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มีความเบียดเบียนเป็นสุข
มงคลที่ ๑๙ งดเว้นจากบาป - สัตว์ร้าย รักษาอุโบสถ
สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเที่ยว หาอาหาร เห็นช้างตายอยู่ข้างทาง มันดีใจคิดว่า เป็นลาภลอยชิ้นใหญ่ของเราแล้ว จึงตรงเข้าไปกัดที่งวง แต่กัดไม่เข้า จึงเปลี่ยนไปแทะที่งา ก็รู้สึกเหมือนกับแทะแผ่นหิน กัดที่หาง ก็รู้สึกเหมือนกัดสากตำข้าว ครั้นกัดช่องทวารหนักก็รู้สึกว่า ได้กินเนื้อนุ่มๆ จึงเกิดติดใจมุดเข้าไปอยู่ข้างในท้องช้าง แล้วกัดกินเครื่องในอย่างเอร็ดอร่อย
มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน - หนทางสู่ความรุ่งโรจน์
ความเคารพกับความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความแตกต่างกัน ความเคารพเป็นการปรารภผู้อื่น ตระหนักในคุณงามความดีของผู้อื่น พบใครก็คอยมองหาข้อดีของเขา ไม่ไปจับผิด สามารถ ประเมินคุณค่าของผู้อื่นได้ตามความเป็นจริง และแสดงอาการเคารพนับถือด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งต่อหน้า และลับหลัง ส่วนความอ่อนน้อมถ่อมตน