รักษาใจเพียงหนึ่งเดียว
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก ที่ละเอียดยิ่งนัก มักตกไปในอารมณ์ตามความปรารถนา เพราะจิตที่รักษาไว้ได้ดีแล้ว เป็นเหตุนำความสุขมาให้
อย่าโกรธกันเลย
บุคคลพึงละความโกรธ สละความถือตัว ล่วงสังโยชน์ทั้งสิ้นได้ ทุกข์ทั้งหลายย่อมไม่ตกต้องบุคคลนี้ ผู้ไม่ข้องในนามรูป ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล
อานิสงส์ถวายหม้อน้ำหอม
เรารื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ภพของเรา ๗ ชั้น สูงสุดน่าหวาดเสียว นางเทพกัญญา ๑ แสน แวดล้อมเราเสมอ ความป่วยไข้ไม่มีแก่เรา ความเศร้าโศกไม่มีแก่เรา เราไม่เห็นความเดือดร้อนเลย นี้เป็นผลของการถวายหม้อน้ำหอมเป็นพุทธบูชา
มงคลที่ ๑๙ งดเว้นจากบาป - งดเว้นจากอกุศลกรรม
นกกระทาคิดว่า หมู่ญาติของเรามากมายพากันฉิบหายเพราะอาศัยเราผู้เดียว บาปคงจะติดตามเราไปข้ามภพข้ามชาติเป็นแน่ วัน ต่อมา เมื่อนายพรานนำนกไปปล่อยไว้ในป่า เพื่อเป็นนกต่อตามปกติ นกกระทาก็ไม่ยอมร้อง แต่ถ้าไม่ร้อง นายพรานก็จะเอาแขนงไม้ไผ่ตีศีรษะ นกกระทาได้รับความเจ็บปวด จึงจำเป็นต้องส่งเสียงร้อง ทำให้มีนกกระทาอีกมากมายต้องมาตายด้วยน้ำมือของนายพราน
พุทธปาฏิหาริย์ ๓,๕๐๐ อย่าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีประมาณเท่าใด ไม่มีเท้าก็ดี ๒ เท้าก็ดี ๔ เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มีสัญญาก็ดี มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่าเป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น
มงคลที่ 38 - จิตเกษม - พากเพียรเถิดให้เกิดบุญบารมี
พระบรมศาสดาซึ่งประทับอยู่ในพระคันธกุฎี ได้เห็นความตั้งใจจริงของนาง จึงแผ่พระรัศมีออกไป เหมือนประทับนั่งอยู่ต่อหน้า แล้วตรัสพระธรรมเทศนาว่า "ผู้ใดไม่เห็นธรรมอันยอดเยี่ยม พึงเป็นอยู่ 100ปี ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้เห็นธรรมอันยอดเยี่ยม ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ของผู้นั้น"
อานิสงส์ถวายวัดเวฬุวัน
นอกจากพระพุทธเจ้าผู้เป็นนาถะของโลก ปากคน ๑ นหุต บุรุษไรเล่าผู้สามารถจะกล่าวอานิสงส์ของการถวายที่อยู่อาศัยได้
วันนี้วันที่สิบสองของการเข้าพรรษา : พระนิพพานต้องทำให้แจ้ง
วันนี้วันที่ 12 นับจากวันเข้าพรรษา พรรษานี้เราให้ชื่อว่า พรรษาแห่งการบรรลุธรรม คือ พระเห็นพระ เณรเห็นพระ โยมเห็นพระ เพราะฉะนั้นเมื่อเราตั้งใจมั่นกันอย่างนี้แล้วก็จะต้องทำให้ได้ พยายามหมั่นฝึกฝนอบรมใจกันไปเรื่อย ๆ
สัญญาแห่งความเลื่อมใส
ท่านจงเจริญพุทธานุสติ อันยอดเยี่ยมกว่าภาวนาทั้งหลาย ท่านเจริญพุทธานุสตินี้แล้ว จักยังใจให้เต็มได้
ความวิเศษสุดของพระพุทธศาสนา
ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในศีล สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ หมั่นประกอบความเพียร ภิกษุผู้มีปกติพากเพียรอยู่อย่างนี้ ไม่เห็นแก่นอน ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน เจริญกุศลธรรมเพื่อบรรลุคุณอันเกษมจากโยคะ ผู้ยินดีในความไม่ประมาท มีปกติเห็นภัยในความประมาท เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อม ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติใกล้พระนิพพานทีเดียว