มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - รอดชีวิตเพราะพหูสูต
เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา เสวยพระชาติเป็นพราหมณ์ปุโรหิต ชื่อว่า เสนกบัณฑิต ผู้มีปัญญามาก ในตอนนี้ท่านได้ช่วยพราหมณ์ชราให้พ้นภัยจากงูร้ายที่เข้าไปอยู่นอนกินข้าวสตุก้อน ข้าวสตุผง อยู่ในไถ้ของพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันชาญฉลาด เหตุการณ์ทั้งหมดจะเป็นอย่างไรนั้น
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ผลของการให้ด้วยความเคารพ
อุตตรมาณพ ผู้เป็นบ่าวของกระผม ทำทานด้วยความเคารพ ให้ด้วยมือของตนเอง ด้วยกิริยานอบน้อม เขาจึงมีวิมานสว่างไสวในดาวดึงส์ ส่วนกระผมเองผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ อุตส่าห์สละทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก แต่เหตุใดกลับมาบังเกิดเพียงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา อีกทั้งมีรัศมีและอานุภาพน้อยกว่าอุตตรมาณพอีกด้วย
โอวาทปาฏิโมกขาทิปาโฐ
คนจะดีอยู่ที่การกระทำ
บุคคลไม่ได้เป็นคนเลวเพราะชาติ ไม่ได้เป็นคนดีเพราะชาติ แต่เป็นคนเลวเพราะการกระทำ เป็นคนดีเพราะการกระทำ
ส่องธรรม ล้ำภาษิต : ระยะทางกับความรัก
ความรักทำให้ระยะทางหายไป ความชังทำให้ระยะทางเพิ่มขึ้น เมื่อใจรักแล้ว ไกลแค่ไหนก็เหมือนใกล้ ดั้นด้นไปหา ฟันฝ่าไปเจอ คอยคิดคำนึงถึง แม้ห่างไกล แต่จิตใจกลับผูกพันชิดใกล้ตลอดเวลา
ส่องธรรม ล้ำภาษิต : ผู้เตือน - ผู้ถูกเตือน
ผู้เตือนเตือนจนผู้ถูกเตือนกลัว ผู้ถูกเตือนมีปฏิกิริยาจนผู้เตือนไม่กล้าเตือน
ทิพยสถานสำหรับผู้มีบุญ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์ เหมือนถูกเชิญมาเกิด ธรรม ๔ ประการคือ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เว้นจากการพูดเท็จ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมบังเกิดในสวรรค์เหมือนถูกเชิญมาเกิด
วิธีแบ่งแยกบุคคล
บุคคลไม่ได้เป็นคนเลวเพราะชาติ ไม่ได้เป็นผู้ประเสริฐเพราะชาติกำเนิด แต่เป็นคนเลวทรามเพราะกรรม เป็นผู้ประเสริฐก็เพราะกรรมเท่านั้น
กว่าจะมาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก่อนได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ต้องสละชีวิตและอวัยวะมานับภพนับชาติไม่ถ้วน หากเปรียบศีรษะที่ทรงสละไป ก็มากกว่าผลมะพร้าวในชมพูทวีป ดวงตาที่สละไปมากกว่าดวงดาวบนฟากฟ้า เลือดที่สะละไปมากกว่าน้ำในมหาสมุทร เนื้อที่สละไปมากมายกว่าพื้นดิน
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - เป็นผู้ประเสริฐด้วยการปฏิบัติ
พระอินทร์ได้ฟังคำอธิบายเช่นนั้น ทรงหายสงสัยในการบำเพ็ญตบะของพระฤๅษี ด้วยตระหนักชัดแล้วว่า ท่านไม่ได้ปรารถนาตำแหน่งท้าวสักกะ หรือความเป็นพระราชา มหาเศรษฐีเลย หากท่านมีความปรารถนาที่ยิ่งใหญ่ คือ ปรารถนา อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อันประเสริฐ ซึ่งยากที่มนุษย์ธรรมดาจะกล้าคิดกล้าทำ