ทุมเมธชาดก-ชาดกว่าด้วยการใช้อำนาจให้เป็นประโยชน์
วสันตฤดูครั้งนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จกลับมาพักผ่อนพระวรกาย หลังจากตรากตรำเผยแผ่พระศาสนามาเนิ่นนาน โดยไม่ย่อท้อต่อความทุรกันดารและอุปสรรคใดๆ พระเกียรติคุณนี้เป็นที่สรรเสริญกันอย่างกว้างขวางในหมู่พุทธบริษัท พระพุทธองค์ทรงใช้วาระนั้นปรารภถึงการบำเพ็ญประโยชน์แก่โลก
ปัญจาวุธกุมาร-ชาดกว่าด้วยการทำความเพียร
ขณะเมื่อพระพุทธศาสดาประทับในมหาวิหารทรงแจ้งในพระญาณว่า ยังมีภิกษุเกียจคร้านอาศัยครองเพศสมณะไปวัน ๆ ทรงตักเตือนด้วยพุทธโอวาทว่า “ดูก่อนภิกษุ แม้ในกาลก่อนบัณฑิตทั้งหลายกระทำความเพียร ในที่ที่ควรประกอบความเพียร ก็ยังบรรลุถึงราชสมบัติได้” ทรงระลึกชาติของพระองค์ด้วยชาดกเรื่องหนึ่งส่งเสริมพุทธโอวาทเกี่ยวกับความเพียรนั้น
วานรินทชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของผู้ล่วงพ้นศัตรู
พุทธกาลสมัยในขณะที่พระธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขจรขจายไปทั่วแว่นแคว้นดินแดนชมพูทวีป ยังความร่มเย็นเป็นสุขด้วยรสแห่งธรรมที่องค์พระศาสดาตรัสรู้นั้น แผ่นดินมคธกลับผลัดเปลี่ยนอำนาจจากพระเจ้าพิมพิสารอันเป็นองค์ศาสนูปถัมภกมาเป็นโอรสนามพระเจ้าอชาตศัตรู
เวฬุกะชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการเป็นผู้ว่ายากสอนยาก
ครั้งอดีตกาล ณ พระเชตะวัน มหาวิหารอันสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนาได้เกิดเรื่องราวมิงามของภิกษุผู้ว่ายากอยู่ท่านหนึ่ง ไม่ว่าใครจะว่ากล่าวตักเตือนอย่างไรก็ตามท่านก็มิเคยฟัง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระกรุณาธิคุณให้ภิกษุรูปหนึ่งเข้าเฝ้า เพื่อปลดโทษให้
มิตตวินทุกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษผู้ลุอำนาจความปรารถนา
ครั้งหนึ่งเมื่อสมเด็จพระพุทธศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาข้อตัณหาอันเป็นสิ่งกว้างขวางไร้ขอบเขตจำกัด ณ พระเชตะวันมหาวิหารในนครหลวงแห่งมคธรัฐ พุทธวัจนในพระธรรมบทนี้ได้รับการจดจำต่อๆ กันว่าชนเหล่าใดมากำหนัดยินดีตัณหานั้น ชนเหล่านั้นก็เช่นผู้ถูกจักรกรดไว้
สธ.เตือนระวังกระเช้าปีใหม่หมดอายุ
กระทรวงสาธารณสุข เตือนร้านค้าหากจำหน่ายกระเช้าปีใหม่หมดอายุ มีโทษทั้งจำและปรับ
ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว
บุคคลทำกรรมใด ย่อมมองเห็นกรรมนั้นในตน ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว บุคคลหว่านพืชเช่นใด ผลย่อมงอกขึ้นเช่นนั้น
มุณิกชาดก ชาดกว่าด้วยผู้มีอายุยืน
มุณิกชาดก เป็นเรื่องของหมูมุณิกะ ซึ่งถูกเลี้ยงดูด้วยอาหารดีเลิศและได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี และทำให้โคจุฬโลหิตเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจในชะตาของมันซึ่งต่างจากหมู แต่ถ้ามันรู้ความจริงว่าหมูมุณิกะถูกเลี้ยงไว้เพื่อฆ่า...มันจะทำอย่างไร มันจะช่วยหมูมุณิกะหรือไม่
พัพพุชาดก-ตอนที่ 2-ชาดกว่าด้วยวิธีให้แมวตาย
ย้อนไปในอดีตกาลในยุคสมัยที่พระเจ้าพรหมทัตเสวยพระราชสมบัติปกครองแคว้นพาราณสีอยู่นั้น พระโพธิสัตว์ในยุคนั้นได้บังเกิดเป็นช่างสลักหิน ในเวลานั้นช่างสลักหินผู้นี้ได้เติบโตเจริญวัยเป็นหนุ่มศึกษาวิชาศิลปะจนสำเร็จ
มตกภัตตชาดก ชาดกว่าด้วยสัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์
“เหล่าพราหมณ์เอ๋ย ถ้าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้อย่างนี้ว่า ความเกิดมี ของชาติภพนั้น เป็นทุกข์เช่นนี้ สัตว์จึงไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะผู้มีปกติข้าสัตว์ ย่อมได้รับความเศร้าโศก ด้วยต้องเสวยมหันตทุกข์ตลอดกาลนาน เหล่าพราหมณ์เอ๋ย ผู้ทำสัตว์อื่นให้เจริญ ย่อมได้ความเจริญในชาติสมภพ เมื่อเบียดเบียนสัตว์อื่นย่อมได้รับการเบียดเบียนเช่นกัน ดังนี้จึงไม่ควรฆ่าสัตว์อื่น อีกอย่างหนึ่ง ทุกท่านล้วนได้เห็นแล้วว่า แพะนี้เศร้าโศกแล้วเพราะมรณะภัยฉันใด ผู้มีปกติฆ่าสัตว์ ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนานฉันนั้น ดังนี้แล้วไม่ว่าผู้ใดก็ตาม จึงไม่ควรกระทำกรรมคือ ปานาติบาต ไม่ควรฆ่าสัตว์ด้วยเหตุผลดังนี้”