มงคลที่ ๒๐ สำรวมจากการดื่มน้ำเมา - ชีวิตและชาติพินาศเพราะสุรา
สุรา ดื่มแล้วจะเมามายขาดสติเดินโซเซตกลงไปในบ่อ ในหลุมน้ำครำ หรือหลุมโสโครกก็ได้ จะกล้ากินของที่ไม่ควรกิน จะเที่ยวไปในที่ต่างๆ โดยไม่มีจุดหมาย จะทำตัวเหมือนคนอนาถา กล้าฟ้อนรำขับร้องโดยไม่อายใคร กล้าเปลือยกายเดินตามถนนหนทาง จะมีจิตลุ่มหลง นอนตื่นสาย แม้ไฟไหม้ก็ยังนอนอยู่ได้ จะนอนจมอยู่ในอาเจียนของตนก็ได้ จะนั่งคุยโวพร่ำเพ้อในที่ประชุมชน และมักจะทำสิ่งทุจริตต่างๆ จนถูกจองจำ ถูกฆ่า และเสื่อมจากโภคทรัพย์สมบัติทั้งหลาย
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - กตัญญู คุณค่าของความเป็นคน
พระราชาทรงดำริว่า ช้างพังนี้มีอุปการะแก่เรามาก จึงพระราชทานเครื่องคชาภรณ์ทุกอย่าง ได้บำรุงอย่างดีเหมือน กับที่พระเจ้าอุเทนทำกับภัททวดีช้างพังฉะนั้น แต่ต่อมาภายหลัง เมื่อช้างพังต้นโอฏฐิพยาธิชราภาพลง พระราชารับสั่งให้ริบทุกสิ่งทุกอย่าง เหมือนทำนองที่ว่า เสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพลนั่นเอง
เจริญธัมมานุสติ
พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมนั้น
มงคลที่ ๑๑ บำรุงบิดามารดา - เลี้ยงดูพ่อแม่ เกิดก่อสวรรค์
วันหนึ่ง พระภิกษุผู้เป็นบุตรเศรษฐีได้ข่าวจากเพื่อนภิกษุอาคันตุกะว่า โยมพ่อโยมแม่ของท่านกำลังลำบากต้องขอทานเขากิน ท่านรู้สึกสงสารขึ้นมาอย่างจับใจ ประกอบกับช่วงนั้นท่านรู้สึกท้อแท้เพราะผลการปฏิบัติธรรมที่ไม่ก้าวหน้า จึงคิดอยากสึกออกไปเป็นคฤหัสถ์ เพื่อเลี้ยงดูมารดาบิดา
มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน - อ่อนน้อมถ่อมตน
ผู้ที่จะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ได้รับการ ยกย่องนับถือจากผู้อื่นด้วยความจริงใจนั้น จะต้องเป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ถ้าขาดคุณธรรมข้อนี้แล้ว แม้จะได้รับยศตำแหน่งก็จะอยู่ได้ไม่นาน เพราะการเป็นคนแข็งกระด้าง อวดดื้อถือดีดูถูกดูหมิ่นคนอื่น เป็นผลเสียอย่างใหญ่หลวง ทั้งต่อตนเองและหมู่คณะ โดยที่บุคคลนั้นก็คาดไม่ถึงว่า จะมีโทษมากถึงเพียงนั้น
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - พระิอินทร์มาเตือนสติ
ู้ประพฤติผิดศีลผิดธรรม ไม่เลี้ยงดูบิดามารดา เป็นคนอกตัญญู ดูหมิ่นผู้มีพระคุณ คนเหล่านี้แหละที่เป็นศัตรูของเรา สุนัขดำจะเคี้ยวกินผู้ที่ไม่มีจิตเมตตา ชอบรังแกเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ประกอบ สัมมาอาชีวะ ประพฤติผิดในกาม แสวงหาความสุขบนความทุกข์ของผู้อื่น หมกมุ่นอยู่ในอบายมุข โดยไม่ทำความดีอะไร
มงคลที่ 38 - จิตเกษม - ทำลายข่าย คือ ทิฏฐิมานะ (1)
พระพุทธองค์จึงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์และสอบถามพระฉันนะว่า เป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ เมื่อท่านยอมรับว่าจริง จึงตรัสเตือนว่า "ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอกระทำไม่เหมาะสม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ทำไมเมื่อเธอถูกภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวโดยธรรม จึงทำตัวให้เป็นผู้ที่ใครๆว่ากล่าวไม่ได้