ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว
บุคคลทำกรรมใด ย่อมมองเห็นกรรมนั้นในตน ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว บุคคลหว่านพืชเช่นใด ผลย่อมงอกขึ้นเช่นนั้น
กาสาวชาดก ชาดกว่าด้วยผ้ากาสาวพัสตร์
พญาช้างอยากลงโทษให้พรานชั่วให้ตายตกไปตามชีวิตบริวารของตน แต่เห็นแก่ผ้าเหลืองกาสาวพัสตร์ในพระพุทธศาสนา จึงลงโทษสถานเบาให้เข็ดหลาบ แล้วปล่อยให้พรานออกจากป่าโดยให้พรานตั้งสัตย์ปฏิญาณว่าจะเลิกฆ่าสัตว์ตัดชีวิตและตั้งอยู่ในศีลธรรม อันดีตลอดไป
โกกาลิกชาดก ชาดกว่าด้วยพูดในกาลที่ควรพูด
พระอัครสาวกและพระโกกาลิกะพร้อมด้วยภิกษุ 1,000 รูป ติดตามไปเยี่ยมชาวบ้านในหมู่บ้าน พวกอุบาสกเหล่านั้นพากันต้อนรับด้วยเภสัชและเครื่องนุ่งห่มแต่ก็ไม่ได้ถวายแก่พระโกกาลิกะอีก จึงทำให้ท่านถึงกับทนไม่ไหว ด่าตัดพ้อพระเถระทันที “ พวกท่านนี่ เป็นตัวขัดลาภข้าจริง ๆ ทำไมชาวบ้านถวายสิ่งของแก่พวกท่านกลับไม่ถวายเจ้าอาวาสอย่างข้า ”
คูถปาณกชาดก ชาดกว่าด้วยหนอนท้าสู้กับช้าง
เจ้าช้างถ่ายคูตก้อนใหญ่ลงบนหัวหนอนนั้น และถ่ายปัสสาวะรดหนอนคูต พร้อมทั้งแผดเสียงร้องอย่างสะใจ ก่อนจะเดินหายลับเข้าไปในป่าตามยถากรรม เหตุการณ์ระหว่างที่เจ้าหนอนคูตท้าสู้กับช้างนั้น เป็นที่แจ้งประจักษ์แก่เทวดาที่อยู่ในไพรสณฑ์นั้น ซึ่งเฝ้ามองดูชะตากรรมช่างน่าอนาถของเจ้าหนอนคูตที่ต้องมาตายเพราะความหยิ่งผยองลำพองตน
พัพพุชาดก-ตอนที่ 2-ชาดกว่าด้วยวิธีให้แมวตาย
ย้อนไปในอดีตกาลในยุคสมัยที่พระเจ้าพรหมทัตเสวยพระราชสมบัติปกครองแคว้นพาราณสีอยู่นั้น พระโพธิสัตว์ในยุคนั้นได้บังเกิดเป็นช่างสลักหิน ในเวลานั้นช่างสลักหินผู้นี้ได้เติบโตเจริญวัยเป็นหนุ่มศึกษาวิชาศิลปะจนสำเร็จ
สัตติคุมพะชาดก ชาดกว่าด้วยเรื่องการคบหาคนพาล
สารัตถะแห่งพระพุทธศาสนาข้อสำคัญที่ประจักษ์แจ้งทั่วกันอย่างหนึ่งก็คือ อนิจจัง ความไม่เที่ยงไม่จีรังยั่งยืนของสรรพสิ่ง ในแผ่นดินมคธซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปักธงชัยประกาศศาสนาไว้ ก็ไม่พ้นจากความจริงจากข้อนี้ได้ เมื่อสิ้นอำนาจพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าอชาตศัตรูผู้ทำปิตุฆาตขึ้นครองมคธตามคำยุยงของพระเทวทัต
อกตัญญุตาชาดก-ชาดกว่าด้วยคนอกตัญญู
พุทธกาลสมัยหนึ่งครั้งเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์สาวกทั้งหลายกลับจากกรุงราชคฤห์ แผ่นดินมคธมาสู่พระเชตวันมหาวิหาร ณ นครสาวัตถี ในโกศลรัฐนั้น สิ่งร้าวรานที่เกิดจาก เทวทัตเถระ กระทำย่ำยีต่อพระพุทธศาสนาในการแบ่งแยกหมู่สงฆ์และสะพิงบัญญัติใหม่แปลกไปจากพุทธวินัยในแคว้นมคธก็กลายเป็นข้อวิภาคเจ็บร้อนขึ้นในธรรมสภา
มหาอุกกุสชาดก ชาดกว่าด้วยการผูกมิตร
บุคคลพึงคบมิตรสหายและเจ้านายไว้ เพื่อได้รับความสุข เรากำจัดศัตรูได้ด้วยกำลังแห่งมิตร เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยบุตรทั้งหลาย บันเทิงอยู่เหมือนเกราะที่บุคคลสวมแล้ว ป้องกันลูกศรทั้งหลายได้ ฉะนั้น
เวทัพพชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการไม่รู้จักกาลเทศะ
พุทธกาลครั้งหนึ่งยังมีภิกษุชาวสาวัตถีรูปหนึ่ง มีความอวดดื้อถือดีจนเป็นที่เอือมระอาต่อภิกษุรูปอื่นๆ เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบท่านจึงทรงระลึกชาติด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณแล้วพบว่า ภิกษุรูปนี้เมื่อกาลก่อนก็เป็นผู้ว่ายากจนเป็นเหตุให้ตนเองและบุคคลเป็นพันๆ คน ต้องถึงแก่ความตาย
ลิตตชาดก ชาดกว่าด้วยลูกสกาอาบยาพิษ
นักเลงสกาเมื่อจนมุมก็ใช้แผนเดิม เอาลูกสกาเข้าปากแล้วแกล้งปัดกระดานจนพลิกคว่ำ ลูกสกาหล่นลงบนพื้นกระจัดกระจาย “ อ้าว ลูกสกาหายไปไหนตัวหนึ่งเนี่ย ช่วยกันหาหน่อย อ้าวตายล่ะ มือเผลอไปโดนกระดานเข้า ตาย ตาย ตาย จำไม่ได้แล้วสิ ว่าตัวเล่นอยู่ตรงไหนบ้าง ” ชาวบ้านต่างรู้ว่านั้นเป็นแผนของนักเลงสกาที่ไม่ยอมแพ้ลูกเศรษฐี แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้