สามเณรปิโลติกะ อดีตเด็กขอทาน
ในสมัยพุทธกาลมีเด็กขอทานคนหนึ่งชื่อว่า ปิโลติกะ นุ่งผ้าเก่าๆขาดวิ่น ถือชามกระเบื้องเดินขอทานอยู่ไปมา พระอานนท์เห็นเข้าจึงเกิดความเมตตาชวนให้เด็กขอทานได้บวชในพระพุทธศาสนา สามเณรจึงได้บวชกับพระอานนท์นับแต่บัดนั้น
สามเณรสานุ ผู้ถูกยักษิณีเข้าสิง
สานุสามเณร แม้จะยังเยาว์ก็สามารถแสดงธรรมเทศนาได้แกล้วกล้าและไพเราะเกินตัว เทศนาทุกครั้งจะมี เทวดา ยักษ์ และอมนุษย์มาฟังด้วยเสมอ ท่านจึงเป็นที่เคารพของอมนุษย์และเทวดาจำนวนมาก ได้มียักษิณี (คือยักษ์ผู้หญิง) ตนหนึ่งซึ่งเคยเป็นมารดาในอดีตชาติของสามเณรมาฟังธรรมเทศนาของสามเณรอยู่เป็นประจำ
สามเณรราหุล สามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา
สามเณรราหุลเป็นโอรส (ลูกชาย) ของพระนางยโสธรากับเจ้าชายสิทธัตถะก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ออกบวชเมื่ออายุ ๗ ขวบ และเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี
ติสสสามเณร สามเณรผู้รู้วันละสังขาร
ในสมัยพุทธกาลมีสามเณร น้อยองค์หนึ่งชื่อติสสะ อายุ ๗ ปีมาบวชเพื่อศึกษาเล่าเรียน และปฏิบัติธรรมอยู่ในสำนักพระสารีบุตรเถระอัครสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นระยะเวลาหนึ่งปี
บัณฑิตสามเณร ผู้บรรลุอรหันต์จากการฟังธรรมเพียง ๔ ข้อ
บัณฑิตสามเณรบวชตอนอายุได้ ๗ ขวบ สามารถสำเร็จอรหันต์ในวันที่ ๘ ของการบวช มารดาตั้งชื่อว่า "บัณฑิต" เหตุเพราะเมื่อสามเณรได้มาปฏิสนธิในครรภ์มารดา ก็ปรากฏว่าคนในบ้านเรือนมีแต่ความฉลาดปราดเปรื่องมากขึ้น
ประมวลภาพพิธีตักบาตรพระภิกษุ-สามเณร อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
ประมวลภาพพิธีตักบาตรพระภิกษุ-สามเณร อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2559
ทุ สะ นะ โส
บุคคลหว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว
สามเณร คือ ใคร
สามเณร คือ นักบวชชายในพระพุทธศาสนาที่มีอายุน้อย ยังมิได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ สามเณร แปลว่า เหล่ากอของสมณะ หน่อเนื้อของสมณะ ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณร คือ ผู้สั่งสมบุญเก่ามาในอดีตไว้ดีแล้ว จึงได้มีโอกาสมาบวชฝึกฝนตนเอง
รับสมัครพนักงานขับรถรางรับส่งพระภิกษุ-สามเณร และสาธุชน
หากคุณเป็นชายมีใจอยากช่วยงานพระพุทธศาสนา ทำงานอยู่ในวัด ขอเชิญมาสมัครเป็นพนักงานขับรถราง เพื่อขับรถรางรับส่งพระภิกษุ-สามเณร และสาธุชนวัดพระธรรมกาย สุขใจได้ทั้งงานและบุญ
การสนทนาระหว่างฆราวาสกับพระภิกษุ/สามเณร
การสนทนาระหว่างฆราวาสกับพระภิกษุ/สามเณร ๑. เวลาพระท่านพูด ควรตั้งใจฟังด้วยความเคารพ ไม่ควรขัดจังหวะหรือพูดแทรกขึ้นมาในระหว่างที่ท่านกำลังพูดอยู่ ๒. เวลาท่านให้โอวาทหรืออวยพร ควรประนมมือฟังด้วยความเคาพ ๓. เวลารับไตรสรณคมน์ และรับศีล ควรว่าตามด้วยเสียงที่ชัดเจน