มหาพรหม-มหาบุรุษ
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ย่อมโคจรส่องทิศให้สว่างอยู่เท่าใด อำนาจของท่านย่อมเป็นไปในพันจักรวาลเท่านั้น ท่านย่อมรู้จักสัตว์ที่เลวและสัตว์ที่ประณีต รู้จักสัตว์ที่มีราคะ และสัตว์ที่ไม่มีราคะ รู้จักจักรวาลนี้และจักรวาลอื่น และรู้จักความมาและความไปของสัตว์ทั้งหลาย
บุคคลผู้ทรงธรรม
เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์ย่อมสิ้นไป เพราะมารู้ชัดธรรมพร้อมทั้งเหตุ
เพื่อนพ้องพี่น้องกัน
ท่านทั้งหลายจงเห็นการทะเลาะวิวาทกันว่า เป็นเหตุแห่งภัย และเห็นการไม่วิวาทกันว่า เป็นความเกษมสำราญแล้ว พึงเป็นผู้พร้อมเพรียง มีความประนีประนอมกันเถิด นี้เป็นพระพุทธานุสาสนี
คุณคือคนสำคัญ
กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงศึกษาบุญนั่นแล อันสูงสุดต่อไปซึ่งมีสุขเป็นกำไร คือ พึงเจริญทาน ๑ ความประพฤติสงบ ๑ เมตตาจิต ๑ บัณฑิตครั้นเจริญธรรม ๓ ประการอันเป็นเหตุเกิดแห่งความสุขเหล่านี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุข
เส้นทางจอมปราชญ์ (๙)
เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง มีความผ่องใส สุคติก็เป็นอันหวังได้
อัธยาศัยของมนุษย์ (๑)
บัณฑิตพึงทราบ จริตทั้งหลาย โดยอิริยาบถ โดยกิจ โดยการบริโภค โดยอาการ มีการดู เป็นต้น และโดยความเป็นไป แห่งธรรมนั่นแล
ตอแห่งวัฏฏะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นธรรมแม้สักอย่างหนึ่งที่จะมีโทษมาก เหมือนอย่างมิจฉาทิฏฐินี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง
อย่าขอสิ่งที่ไม่ควรขอ
บุคคลรู้ว่า สิ่งของอันใดเป็นที่รักของเขา ก็ไม่ควรขอสิ่งของอันนั้น บุคคลย่อมเป็นที่เกลียดชังเพราะขอจัด พญานาคถูกพราหมณ์ขอแก้วมณี ตั้งแต่นั้นก็มิได้มาให้พราหมณ์เห็นอีกเลย
คิดผิดคิดใหม่ได้ (๓)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาล ๔ อย่างที่บุคคลบำเพ็ญโดยชอบ ให้เป็นไปโดยชอบ ย่อมให้ถึงความสิ้นอาสวะโดยลำดับ กาล ๔ นี้คือ การฟังธรรมตามกาล การสนทนาตามกาล การสงบตามกาล และการพิจารณาตามกาล กาล ๔ อย่างนี้ อันบุคคลบำเพ็ญโดยชอบ ให้เป็นไปโดยชอบ ย่อมให้ถึงความสิ้นอาสวะโดยลำดับ
คิดผิดคิดใหม่ได้ (๔)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างเดียวที่มีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฏฐินี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง