สัตติคุมพะชาดก ชาดกว่าด้วยเรื่องการคบหาคนพาล
สารัตถะแห่งพระพุทธศาสนาข้อสำคัญที่ประจักษ์แจ้งทั่วกันอย่างหนึ่งก็คือ อนิจจัง ความไม่เที่ยงไม่จีรังยั่งยืนของสรรพสิ่ง ในแผ่นดินมคธซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปักธงชัยประกาศศาสนาไว้ ก็ไม่พ้นจากความจริงจากข้อนี้ได้ เมื่อสิ้นอำนาจพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าอชาตศัตรูผู้ทำปิตุฆาตขึ้นครองมคธตามคำยุยงของพระเทวทัต
อกตัญญุตาชาดก-ชาดกว่าด้วยคนอกตัญญู
พุทธกาลสมัยหนึ่งครั้งเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์สาวกทั้งหลายกลับจากกรุงราชคฤห์ แผ่นดินมคธมาสู่พระเชตวันมหาวิหาร ณ นครสาวัตถี ในโกศลรัฐนั้น สิ่งร้าวรานที่เกิดจาก เทวทัตเถระ กระทำย่ำยีต่อพระพุทธศาสนาในการแบ่งแยกหมู่สงฆ์และสะพิงบัญญัติใหม่แปลกไปจากพุทธวินัยในแคว้นมคธก็กลายเป็นข้อวิภาคเจ็บร้อนขึ้นในธรรมสภา
มหาอุกกุสชาดก ชาดกว่าด้วยการผูกมิตร
บุคคลพึงคบมิตรสหายและเจ้านายไว้ เพื่อได้รับความสุข เรากำจัดศัตรูได้ด้วยกำลังแห่งมิตร เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยบุตรทั้งหลาย บันเทิงอยู่เหมือนเกราะที่บุคคลสวมแล้ว ป้องกันลูกศรทั้งหลายได้ ฉะนั้น
มาตุโปสกชาดก-ชาดกว่าด้วยพญาช้างยอดกตัญญู
ในสมัยหนึ่งครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตะวันเมืองสาวัตถี ได้เกิดเรื่องราวถกเถียงกันในหมู่สงฆ์ ถึงเรื่องวินัยสงฆ์ของภิกษุผู้เลี้ยงมารดารูปหนึ่ง ภิกษุที่ว่านี้เมื่อออกบวชในพุทธศาสนาก็ไม่สามารถปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังได้ เพราะต้องคอยมาปรนนิบัติผู้เป็นมารดาที่อาศัยอยู่ในบ้านตามลำพัง
ปัญจาวุธกุมาร-ชาดกว่าด้วยการทำความเพียร
ขณะเมื่อพระพุทธศาสดาประทับในมหาวิหารทรงแจ้งในพระญาณว่า ยังมีภิกษุเกียจคร้านอาศัยครองเพศสมณะไปวัน ๆ ทรงตักเตือนด้วยพุทธโอวาทว่า “ดูก่อนภิกษุ แม้ในกาลก่อนบัณฑิตทั้งหลายกระทำความเพียร ในที่ที่ควรประกอบความเพียร ก็ยังบรรลุถึงราชสมบัติได้” ทรงระลึกชาติของพระองค์ด้วยชาดกเรื่องหนึ่งส่งเสริมพุทธโอวาทเกี่ยวกับความเพียรนั้น
วาตมิคชาดก-ชาดกว่าด้วยอำนาจของรส
ครั้งเมื่อมคธรัฐปรากฎแสงธรรมะซึ่งพระสัมมาสัมพุทธได้ตรัสรู้เจ้าอริยสัจสี่ให้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาในความจริงแห่งสังสารวัฏจนครอบคลุมไปทั่วแคว้นใหญ่แห่งนี้นั้น กุลบุตรตระกูลต่างๆ ก็พากันสละเพศผู้ครองเรือนออกติดตามพระผู้ชนะมารไปยังกรุงสาวัตถีแคว้นโกศลอย่างมากมายเพื่อออกบวชเป็นภิกษุสงฆ์ของพระสมณะโคดม
พัพพุชาดก ตอนที่ 1 ชาดกว่าด้วยวิธีให้แมวตาย
พัพพุชาดก..ในพุทธกาลสมัย องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารในนครสาวัตถี เผยแพร่คำสอนของพระพุทธศาสนากว้างไกลไปทั่วแคว้นพาราณสี ในกาลนั้น ได้มีอุบาสิกาผู้หนึ่งมีนามว่า กาณมาตา นางเป็นอริยสาวิกา ผู้บรรลุโสดาบัน นางอาศัยอยู่กับลูกสาวคนหนึ่ง มีชื่อว่า กาณา
ชาตาชาดก-ชาดกว่าด้วยภรรยา 7 แบบ
ณ เมืองสาวัตถี มีครอบครัวของเศรษฐีผู้หนึ่งนามว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้เกิดเรื่องวุ่นวายขึ้นหลังจากรับสะใภ้ที่เป็นลูกสาวของตระกูลใหญ่เข้ามาอยู่ในบ้าน สะใภ้ที่ว่านี้ก็คือนางสุชาดาผู้เป็นน้องสาวของนางวิสาขา สะใภ้ผู้นี้สำคัญตนว่าเป็นลูกสาวของตระกูลใหญ่จึงไม่ยอมก้มหัวให้กับใครเลยในครอบครัวสามี เที่ยวดุด่าเฆี่ยนตีทาสรับใช้ในเรือนของสามีอยู่เป็นประจำ
กากาติชาดก-ชาดกว่าด้วยนางกากี
ในพุทธกาลสมัย ครั้งที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วนั้น พระพุทธองค์มีพระประสงค์จะปักฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคง จึงได้เสด็จจาริกออกเผยแผ่พระธรรม โปรดแก่เหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายยังดินแดนน้อยใหญ่ชมพูทวีป
พกชาดก-ชาดกว่าด้วยบาปกรรมของผู้ฉลาดแกมโกง
พระเชตะวันมหาวิหาร ณ เวลาในพุทธกาลสมัยหนึ่งยังมีพระภิกษุผู้มีศิลปะในการตัดเย็บ ย้อมสี ปะ ชุนจีวร ฝีมือดีจนเป็นที่ยอมรับในหมู่สงฆ์ ภิกษุรูปนี้ชาญฉลาดในการทำจีวรให้งาม ภิกษุสงฆ์ทั้งหลายพากันขนานนามตามความหมายนั้นว่า พระจีวรวัฒฑกะ