มงคลที่ ๑๙ งดเว้นจากบาป - งดเว้นจากอกุศลกรรม
นกกระทาคิดว่า หมู่ญาติของเรามากมายพากันฉิบหายเพราะอาศัยเราผู้เดียว บาปคงจะติดตามเราไปข้ามภพข้ามชาติเป็นแน่ วัน ต่อมา เมื่อนายพรานนำนกไปปล่อยไว้ในป่า เพื่อเป็นนกต่อตามปกติ นกกระทาก็ไม่ยอมร้อง แต่ถ้าไม่ร้อง นายพรานก็จะเอาแขนงไม้ไผ่ตีศีรษะ นกกระทาได้รับความเจ็บปวด จึงจำเป็นต้องส่งเสียงร้อง ทำให้มีนกกระทาอีกมากมายต้องมาตายด้วยน้ำมือของนายพราน
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - ลมหายใจแห่งสันติภาพ
การที่มนุษย์ไม่มีศีลธรรม เพราะแหล่งที่มาของความคิดที่อยู่ภายในไม่บริสุทธิ์ มีแต่ความคิดคำพูดและกระทำที่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ซึ่งจะส่งผลให้ดินฟ้าอากาศแปรปรวน ผลหมากรากไม้ถอยรสโอชาลง โรคภัยไข้เจ็บจะเกิดขึ้น โรคร้ายแรงที่ไม่เคยมีก็จะเกิดขึ้น รักษายาก สรรพคุณของโอสถทั้งหลายที่เคยรักษาโรคหายได้ ก็ถอยสรรพคุณลงไป อายุมนุษย์จะสั้นลงไปทุกปีๆ
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - สู่หนทางสวรรค์
ชีวิตของมนุษย์ในสมัยก่อนนั้นยาวนานมาก แม้กระนั้นผู้มีบุญก็ไม่ประมาทในชีวิต เพราะมองเห็นทุกข์ เห็นโทษของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย แต่ปัจจุบันอายุของมนุษย์โดยเฉลี่ยเพียง ๗๕ ปีเท่านั้น ชีวิตจึงเป็นของน้อย เราไม่ควรประมาท เพราะความตายอาจพรากชีวิตเราได้ทุกขณะ เพียงแค่หายใจเข้าไม่หายใจออก หรือหายใจออกไม่หายใจเข้าก็ตายแล้ว
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - วันสุดท้ายของชีวิต
สรรพสิ่งทั้งปวงที่มีอยู่ในโลก ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ต่างอยู่บนพื้นฐานของความไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อมทุกวินาที และสูญสลายในที่สุด ทุกสิ่งล้วนเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง เราควรแสวงหาสิ่งที่เป็นความสุขที่แท้จริง นั่นคือ “พระธรรมกาย”
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - ประพฤติธรรม คือ เรื่องสำคัญของชีวิต
สังขารร่างกายของเราก็เช่นเดียวกัน ความแก่ ความเจ็บ ความตายได้คืบคลานเข้ามาในชีวิตเรา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทุกอนุวินาที โดยที่ตัวเราก็สังเกตไม่ออก เมื่อเวลาผ่านไป ๑๐ ปี ๒๐ ปี ๖๐ ปี จึงรู้ว่าเราแก่ลงทุกขณะ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่องกันไปสู่ความเสื่อมสลาย ดังนั้น เราจึงไม่ควรประมาทในชีวิต
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - วจีกรรมนำสู่นิพพาน
เราเป็นผู้มีปกติกล่าวสรรเสริญพระชินวรเจ้าทุกเมื่อ เพราะ กรรมนั้น เราจึงเป็นผู้มีร่างกายและกลิ่นปากหอม เพียบพร้อมด้วยความสุขมีปัญญากล้า มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาไว มีปัญญามากและมีปฏิภาณอันวิจิตร
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - พฤติกรรมที่ชักนําให้เสื่อม
เรื่องนี้มีข้อคิดหลายอย่าง ทั้งเรื่องกฎ แห่งกรรม ความสำคัญของใจในช่วงสุดท้ายตอนศึกชิงภพ และเรื่องความฉลาดในการสอบสวน จนสามารถรู้ถึงเหตุที่แท้จริงจากผลที่เกิดขึ้น เรื่องการเป็นคนช่างสังเกต รู้ว่าใครเป็นพาล เป็นบัณฑิต เป็นมิตรหรือศัตรู
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สัมมาทิฎฐิ (๙)
พระเจ้าอังคติราชสดับเช่นนั้นแล้ว เกิดความสลดสังเวช กลัวที่จะต้องไปบังเกิดในมหานรก จึงตรัสว่า "บัด นี้ ข้าพเจ้าแทบจะล้มเหมือนต้นไม้ที่ถูกตัด ข้าพเจ้าหลงผิดจึงไม่รู้จักทิศ ท่านฤๅษี ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า เสมือนกับน้ำดื่มแก้กระหายในเวลากระหายน้ำ ขอท่านจงเป็นเหมือนเกาะเป็นที่อาศัยในห้วงมหาสมุทร และขอท่านจงเป็นเหมือนประทีปส่องสว่างในที่มืดของข้าพเจ้าด้วยเถิด
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สัมมาทิฏฐิ ( ๕ )
พระพี่เลี้ยงได้ยินข่าวลือว่า "พระราชาทรงฟังถ้อยคำของอาชีวกผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ จึงรับสั่งให้รื้อโรงทานที่ประตูเมืองทั้งสี่ บัดนี้ทรงมัวเมาแต่เบญจกามคุณ มิได้สนพระทัยในพระราชกรณียกิจเลย"
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 19
นารทดาบสต้องการให้พระโพธิสัตว์สมาทานมั่น จึงถวายข้อคิดว่า “พระองค์ เพียงแต่ทรงเพศบรรพชิตนี้ จะสำคัญว่า เราข้ามพ้นกิเลสแล้วหาได้ไม่ กรรมคือกิเลสนี้ ไม่ใช่ว่าจะพึงข้ามได้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เพราะยังมีอันตรายอยู่มาก”