มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - โมฆะของชีวิต
ด้วยหัวใจยอดกัลยาณมิตร ปรารถนาที่จะให้ฤๅษีหักห้ามความเศร้าโศกให้ได้ จึงตรัสว่า "สัตว์ทั้งหลายมีมากมายที่ร้องไห้ถึงคนที่ตายไปแล้ว แต่ท่านรู้ไหม การร้องไห้เศร้าโศกนั้น สัตบุรุษกล่าวว่า เป็นโมฆะของชีวิต ทำให้ชีวิตและจิตใจมัวหมอง หากท่านปรารถนาที่จะให้ใจผ่องใส จงหักห้ามความโศกเถิด"
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - พิชิตความโศกด้วยสัจจธรรม
มหาชนที่ผ่านไปผ่านมา พบเห็นดาบสินีนอนสิ้นใจ ต่างก็พากันสงสารในชะตากรรม พากันร้องไห้คร่ำครวญอยู่ที่ศาลาหลังนั้น ส่วนพระโพธิสัตว์กลับจากภิกขาจาร มาเห็นมหาชนคร่ำครวญกันอยู่ เมื่อรู้ว่าดาบสินีคู่ทุกข์คู่ยากสิ้นใจแล้ว ก็ไม่ได้แสดงอาการอะไร ยังคงทำภัตกิจตามปกติ เพราะเป็นผู้ที่มีใจมั่นคง มองเห็นความตายเป็นเรื่องธรรมดาของสัตวโลก มหาชนเห็นอย่างนั้น จึงพากันถามด้วยความสงสัยว่า "ท่านดาบสเป็นอะไรกับนาง"
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - หยุดใจเพื่อให้เป็นไทจากอารมณ์
พระราชาเห็นว่า การเข้าหาสมณะผู้สงบและรับฟังธรรมะจากท่าน คงจะทำให้ใจสงบขึ้นมาได้ จึงเสด็จพระราชดำเนินไปอารามที่พระนารทเถระจำพรรษาอยู่ พระเถระได้แสดงธรรมให้พระเจ้ามุณฑะว่า "ขอถวายพระพรมหาบพิตร ในโลกนี้มีฐานะอยู่ ๕ประการ ที่สมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลกไม่พึงได้ ฐานะ ๕อย่างนั้นคือ
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - ผู้มีปัญญาย่อมไม่โศก
วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์กับพราหมณ์ผู้เป็นพ่อ ได้ออกไปไถนาตั้งแต่เช้าตรู่ พ่อก็ไถนาไป ส่วนท่านกำลังเผาหญ้าอยู่ งูเห่าตัวหนึ่งได้เลื้อยออกมาจากโพรงไม้ เพราะกลัวถูกไฟเผา ด้วยความโกรธจึงกัดท่านทันที เมื่อรู้ว่าถูกงูพิษกัด ท่านจึงเรียกพ่อให้มาช่วย พ่อได้วิ่งมาดู แต่ไม่รู้ว่าจะช่วยอย่างไร
มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม - ผู้มีจิตมั่นคง
ครั้นเวลาเช้า พระภิกษุสงฆ์มีพระเถระทั้งสองเป็นประมุข ได้ออกบิณฑบาตไปตามถนน แล้วมาพักฉันภัตตาหารที่บ้านของนางนันทมารดาซึ่งได้จัดเตรียมไว้เป็นอย่างดี เมื่ออังคาสภิกษุสงฆ์ให้อิ่มหนำสำราญแล้ว นางก็เข้าไปนั่งสนทนา เล่าเรื่องที่ได้สนทนากับท้าวเวสสวัณเมื่อรุ่งอรุณให้พระเถระทั้งสองฟัง
มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม - จิตที่ไม่หวั่นไหว
พระโพธิสัตว์จึงบอกกับน้องว่า “น้องเอ๋ย ธรรมในหมู่มนุษย์นี้ คือ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุขและทุกข์ ทั้งหมดนี้เป็นของไม่เที่ยง มีแล้วก็ต้องเปลี่ยนแปลง เป็นเรื่องธรรมดาของโลก เจ้าอย่าได้เสียใจไปเลย” แต่ลิงน้องชาย แม้จะได้ฟังอย่างนั้น ก็ยังไม่สามารถลดความอิจฉาริษยา ในลาภสักการะของลิงกาฬพาหุได้ จึงพูดกับพี่ชายว่า “พี่ราธะ พี่เป็นบัณฑิต ย่อมรู้ถึงประโยชน์ แม้ที่ยังมาไม่ถึง ทำอย่างไรหนอ เราจะได้เห็นเจ้าลิงดำตัวนั้น ถูกขับไล่ออกไปจากราชสกุล”
มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม - ชีวิตที่ไม่หวั่นไหว
คนที่ถูกนินทาหรือถูกสรรเสริญ เพียงอย่างเดียวในโลกนี้ไม่มีเลย แม้แต่พระราชาผู้เป็นใหญ่ ปกครองไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ด้วยทศพิธราชธรรม ก็ยังมีทั้งคนนินทาและสรรเสริญ พระจันทร์และพระอาทิตย์ แม้ส่องสว่างให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายบนพื้นโลก บางครั้งได้รับการสรรเสริญ บางครั้งถูกนินทา
บวชให้แม่กันเถิด
จะมีสุขใด ทำให้แม่อิ่มใจมากไปกว่า การได้เห็นชายผ้าเหลืองพระลูกชาย และจะมีลูกผู้ชายสักกี่คน ที่มีหัวใจยอดกตัญญู บวช เพื่อทดแทนพระคุณมารดาผู้ให้กำเนิด
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - ผู้ข้ามพ้นวัฏฏะ
ครั้นพระบรมศาสดา ทรงแก้ปัญหาอันลุ่มลึกที่ปุณณกะได้ทูลถามแล้ว ปุณณกะเป็นผู้มีดวงปัญญาสว่างโพลง เป็นปัญญาบริสุทธิ์ที่เข้าใจเนื้อความของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้อย่างแจ่มแจ้ง ท่านมีธรรมจักษุบังเกิดขึ้น ทั้งจักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา อาโลโก แสงสว่างที่ไม่มีประมาณได้ขจัดความมืดในจิตใจของท่านให้หมดสิ้นไป จนสามารถรู้แจ้งเห็นจริงในสรรพสิ่งทั้งหลายไปตามความเป็นจริงได้ และกิเลสอาสวะถูกขจัดไป สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในครั้งนั้น
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - ละตัณหาได้ ไม่ต้องเกิดอีก
ครั้นพระบรมศาสดาทรงแก้ปัญหาจบลงแล้ว พราหมณ์ได้เพียงดวงตาเห็นธรรม ไม่ได้บรรลุอรหัตผล ได้บรรลุเพียงโสดาปัตติผลเท่านั้น เพราะเวลาฟังพยากรณ์ปัญหา มีจิตฟุ้งซ่าน คิดถึงลุงผู้เป็นอาจารย์ว่า ลุงของเราหาได้มีโอกาสฟังพระธรรมเทศนาอันลึกซึ้งไพเราะอย่างนี้ไม่ อาศัยความกังวลที่มีจิตฟุ้งซ่าน เพราะความรักใคร่ในลุง จึงไม่อาจทำให้สิ้นอาสวะในตอนนั้นได้