มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - อยู่กับปัจจุบันธรรม
เมื่อใจหยุดนิ่งเข้าไปถึงธรรมกายแล้ว เราจะเปรียบเทียบได้ เห็นชัดด้วยตนเองว่า กายธรรมนี้เป็นขันธวิมุตติที่หลุดพ้นจากขันธ์ห้า เป็นกายที่พ้นจากไตรลักษณ์ ออกนอกภพสาม เป็นธรรมขันธ์ คือ ทั้งก้อนกายมีแต่ความบริสุทธิ์ล้วนๆ เป็นธาตุล้วนๆ ธรรมล้วนๆ ควรยึดไว้เป็นที่พึ่งที่ระลึก
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - มุ่งสู่โลกุตรธรรม
พระฤๅษีจิตตบัณฑิตมีความสุขในฌาน อยากจะให้น้องชายได้รับรสแห่งความสุขภายในบ้าง จึงเหาะมาลงที่พระราชอุทยาน ท่านได้แต่งเพลงแก้ให้หนูน้อยคนหนึ่ง เอาไปขับร้องให้พระราชาฟัง หนูน้อยก็รีบวิ่งไปเฝ้าพระราชา แล้วร้องเพลงถวายว่า
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - หยุดใจเป็น สำเร็จทุกอย่าง
หลังจากพุทธปรินิพพานได้ไม่กี่วัน พระมหากัสสปเถระ และเหล่าภิกษุสงฆ์ ได้มีความคิดเห็นตรงกันว่า จะสังคายนารวบรวมพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อให้พระพุทธศาสนาดำรงคงอยู่คู่โลกต่อไปอีกยาวนาน จึงได้ประชุมผู้รู้ที่เป็นพระอรหันต์ และจะขาดพระอานนทเถระไม่ได้โดยเด็ดขาด
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - พากเพียรเพื่อพระนิพพาน
บุคคลผู้มีปัญญา หากปรารถนาจะหลุดพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏ ต้องแสวงหาหนทางพระนิพพาน อันเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์ อีกทั้งต้องมีความพากเพียรพยายามไม่ลดละ เพื่อทำความปรารถนานั้นให้สำเร็จ จนได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ประสบความสำเร็จในชีวิต ทั้งยังสามารถเป็นกัลยาณมิตรชี้ทาง สว่างและเป็นแบบอย่างให้กับชาวโลกได้อีกด้วย ดังเช่น พระมหามิตตเถระ ผู้มีความเคารพในทานที่ญาติโยมตั้งใจถวายด้วยศรัทธา
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - จุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต
ด้วยจิตที่จะอนุเคราะห์พระราชา พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงถวายพระพรว่า "ธรรมดานักโทษย่อมไม่ยินดีในเรือนจำ มีแต่ดิ้นรนแสวงหาหนทางออกจากเรือนจำนั้นอย่างเดียว ขอพระองค์จงเป็นเช่นนั้นเถิด จงเห็นภพทั้งหมดเหมือนเรือนจำเถิด โลกนี้ถูกความมืด คือ อวิชชา ห่อหุ้มไว้ ตราบใดที่สัตวโลกยังไม่ได้รับแสงสว่างจากพระสัทธรรม เปรียบเสมือนตกอยู่ในคุกมืด..."
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - ๓๐ ปีที่รอคอย
"ท่านอาจารย์ผู้ว่างเปล่า อย่าทำตนเป็นผู้ไม่ว่างอยู่เลย ท่านไม่รู้ตัวหรือว่าขณะนี้ท่านเป็นผู้ที่ประมาทแล้ว ตัวของท่านเป็นเสมือนแผ่นกระดานสำหรับให้คนทั้งหลายเดินข้ามไป ท่านเป็นที่พึ่งให้แก่คนอื่นก็จริงอยู่ แต่ท่านไม่สามารถเป็นที่พึ่งให้กับตนเองได้ แล้วจะมีประโยชน์อะไร..."
มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ - พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ตอนที่ ๔
พระเถระอธิบายให้ฟังว่า "ขอถวายพระพรมหาบพิตร พระบรมศาสดาตรัสสอนไว้ว่า...มาเถิดภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งจิตว่า ผู้นี้เป็นมารดา ในหญิงผู้ที่พอเป็นมารดาได้ ส่วนหญิงผู้ที่พอเป็นพี่สาว น้องสาวและลูกสาว พวกเธอจงคิดว่าเป็นพี่สาว เป็นน้องสาวและเป็นลูกสาว...ด้วยวิธีการอย่างนี้แหละ จึงเป็นเหตุให้พระภิกษุหนุ่มทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์อยู่ได้จนตลอดชีวิต"
มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ - พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ตอนที่ ๒
ในวันที่๗ พระพุทธองค์เสด็จออกจากนิโรธสมาบัติ แล้วมาประทับยืนอยู่ที่ประตูถ้ำ ราชสีห์ทราบว่าพระพุทธองค์ออกจากสมาธิแล้ว จึงทำประทักษิณ ด้วยการเดินเวียนขวารอบพระพุทธองค์ ๓รอบ เป็นการแสดงการเคารพนอบน้อมและเปล่งสีหนาทขึ้นด้วยเสียงดังกึกก้อง แทนการกล่าวสรรเสริญด้วยความเลื่อมใส
มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ - พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ตอนที่ ๑
พญาราชสีห์ได้เหยื่อและกลับมายังถ้ำ เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติอยู่ภายในถ้ำ จึงคิดว่า "ในป่าแห่งนี้ ไม่มีสัตว์อื่นที่มีความสามารถจะมานั่งกลางอากาศในที่อยู่ของเราได้ บุรุษนี้ช่างยิ่งใหญ่จริงหนอ มานั่งขัดสมาธิภายในถ้ำของเรา และมีรัศมีกายสว่างไสวแผ่ไปโดยรอบ เราไม่เคยเห็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ถึงเพียงนี้ สงสัยบุรุษนี้คงเป็นยอดมหาบุรุษของโลก"
มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ - ผู้ถึงความเต็มเปี่ยมของชีวิต
จนมาถึงในสมัยพุทธกาลนี้ ท่านเกิดในตระกูลเศรษฐี มีชื่อว่า โชติกะ ในวันที่ท่านเกิด สรรพาวุธทั่วทั้งเมืองเกิดแสงสว่างโชติช่วง ทั่วทั้งเมืองสว่างไสวไปหมด เมื่อถึงวัยที่จะครองเรือน พระอินทร์ได้เสด็จมาจากเทวโลก เนรมิตปราสาท ๗ชั้น ที่ทำด้วยรัตนะทั้ง๗ มีกำแพง ๗ชั้น แวดล้อมปราสาทอย่างประณีตสวยงาม