ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 53
ท้าวเธอทรงสังเกตอากัปกิริยาของสัตว์ทั้งสองแล้ว ก็ทรงแปลกพระทัยยิ่งนัก เพราะธรรมดาแพะกับสุนัขย่อมเป็นอริกัน ไม่มีทางที่จะเป็นมิตรกันได้เลย แต่แพะกับสุนัขคู่นี้ กลับมาเป็นมิตรชิดชอบกันได้ แต่จะเป็นด้วยสาเหตุอันใดนั้น ท้าวเธอก็ยังไม่ทรงทราบแน่ชัด
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 51
พระนางอุทุมพรเทวีจึงทรงดำริในพระทัย “โธ่เอ๋ย! นึกว่าจะวิเศษสักปานใดหนอ ที่แท้บุรุษนี้มาทอดทิ้งเราไป เพราะเหตุที่เขาเป็นกาลกรรณีนี่เอง บุญบันดาลให้เราก้าวขึ้นสู่ฐานะอันสูงส่งถึงเพียงนี้ ที่ไหนเลย ชายผู้นี้จักคู่ควรกับเราได้เล่า” พระนางทรงดำริในพระทัยเช่นนี้แล้ว ก็ทรงพระสรวลออกมาเบาๆ โดยหารู้ไม่ว่าทุกอากัปกิริยาของพระนางนั้น ตกอยู่ในสายพระเนตรของพระราชสวามีตลอดเวลา
มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - ปัญญาพาพ้นภัย (๑)
ตัวอย่างของการใช้ปัญญารักษาตัวรอด มีสติปัญญาสามารถนำพาตนให้รอดพ้นภัยพิบัติได้ ดังนั้นปัญญาจึงเป็นรัตนะของนรชนทั้งหลาย โดยเฉพาะปัญญาที่จะช่วยนำพาเรา ให้หลุดพ้นจากทุกข์ในอบายภูมิ ให้ได้เวียนวนสร้างบารมีอยู่เฉพาะในสุคติภูมิอย่างเดียว
วันวิสาขบูชา ตอน วันประสูติ
ดวงจันทร์ในคืนวันเพ็ญปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาศย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวบนท้องฟ้า ด้วยกำลังแห่งรัศมี ฉันใดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อทรงอุบัติขึ้นย่อมรุ่งโรจน์กว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย ฉันนั้น
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - สมบัติเคียงคู่ผู้มีบุญ
จะเห็นได้ว่า ใครมีบุญ สมบัติจะไปอยู่กับคนนั้น นายควาญช้างเป็นผู้สั่งสมบุญไว้ดีแล้วในกาลก่อน บุญนั้นจึงส่งผลให้เขาได้เป็นพระราชา เหมือนดังที่พระบรมศาสดาได้ตรัสพระคาถาในสิริชาดก ติกนิบาตว่า
ทศชาติชาดก เรื่องเนมิราช ผู้ยิ่งด้วยอธิษฐานบารมี ตอนที่ 3
การทำอธิมุตกาลกิริยา (อะ-ธิ-มุต-ตะ-กา-ละ-กิ-ริ-ยา) คือการอธิษฐานจิตดับชีพของตนลงมาเกิดสร้างบารมีในโลกมนุษย์นี้ จะทำได้ก็เฉพาะพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายที่สถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิตเท่า นั้น
ทศชาติชาดก เรื่องเนมิราช ผู้ยิ่งด้วยอธิษฐานบารมี ตอนที่ 2
พระราชาสดับดังนั้น ทรงมีปีติเป็นยิ่งนัก จึงทรงดำริว่า ลูกเรามาเกิดเพื่อสืบต่อวงศ์ของเราโดยแท้ เปรียบเหมือนล้อรถที่หมุนตามกันมา ฉะนั้น เหตุนี้เองพระองค์จึงทรงขนานพระนามของพระราชโอรสว่า เนมิราชกุมาร ซึ่งแปลว่า กุมารผู้เป็นเหมือนล้อรถ ที่หมุนเวียนมาเพื่อตามรักษาประเพณีอันดีงามของวงศ์ตระกูลให้สืบต่อไป
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - คบบัณฑิตพิชิตปัญหา
ในเวลาเย็น ทั้ง ๔ ท่าน ต่างออกจากที่พักของตน และได้พบกันโดยบังเอิญ ด้วยบุญเก่าที่เคยเกิดเป็นเพื่อนกันมาก่อน ทำให้รู้สึกรักใคร่ชอบใจกันเป็นพิเศษ จึงพูดคุยสนทนากันอย่างถูกคอ ทั้ง ๔ ท่านได้ตั้งคำถามขึ้นมาว่า การสมาทานอุโบสถศีลของพวกเรา ใครจะเป็นผู้มีศีลมากกว่ากัน ต่างฝ่ายต่างก็คิดว่า ตนมีศีลมากกว่าคนอื่น
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑๒ ( ไขปริศนา )
" ท่านเป็นสัตว์ไม่กินหญ้าจึงไม่เป็นที่สงสัยของควาญช้าง ฉะนั้น ท่านต้องเข้าไปในโรงช้าง ฉวยโอกาสคาบหญ้ามาให้ฉันเถิด ส่วนตัวฉันเองเป็นสัตว์ไม่กินเนื้อ จึงไม่เป็นที่สงสัยของพ่อครัว เพราะฉะนั้น ฉันจะเข้าไปในโรงครัวนำเนื้อมาให้ท่าน "
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 5
วันหนึ่ง ในขณะที่พระราชกุมารทรงดื่มน้ำนมจากพระถันของมารดาอยู่นั้น ได้้กัดพระถันของพระนางเอาไว้ แล้วตรัสถามว่า “แม่จงบอกความจริงแก่ฉัน ใครเป็นพ่อของฉันกันแน่ ถ้าแม่ไม่บอก ฉันจะกัดถันของแม่ให้ขาดเดี๋ยวนี้”