เนมิราชชาดกบําเพ็ญอธิษฐานบารมี(8)
คนเหล่าใดในโลกนี้ เป็นคนตระหนี่ ดีแต่ว่าคนอื่น ทำการกีดขวางคนอื่นผู้ให้อยู่ คนเหล่านั้นย่อมเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน หรือยมโลก
กัณฐกวิมาน
พระจันทร์มีรอยรูปกระต่ายในเดือนเพ็ญ ถูกหมู่ดาวแวดล้อม เป็นอธิบดีของหมู่ดาวทั้งหลาย ย่อมโคจรไปในอากาศ ฉันใด ทิพยวิมานนี้ก็ฉันนั้น ย่อมรุ่งโรจน์ด้วยรัศมีในเทพบุรี เหมือนดวงอาทิตย์กำลังอุทัย ดูก่อนเทพบุตร ท่านเป็นผู้มีรัศมีมาก รุ่งโรจน์ยิ่งด้วยวรรณะ อยู่ในวิมานอันประเสริฐนั้น ดุจดวงอาทิตย์กำลังอุทัย นี้เป็นผลแห่งทาน หรือศีล หรืออัญชลีกรรมของท่าน ท่านถูกอาตมาถามแล้ว โปรดบอกข้อนั้นแก่อาตมาเถิด
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - ผลแห่งอริยวาจา
วาจาที่เปล่งออกจากปาก จะทำให้เป็นบุญเป็นกุศลก็ได้ หรือเราจะให้เป็นหอก เป็นเข็มที่มาทิ่มแทงจิตใจคนอื่นก็ได้ แต่บัณฑิตนักปราชญ์ทั้งหลาย ท่านจะใช้วาจาเป็นประดุจดอกไม้หอม เพื่อบูชาพระรัตนตรัย วาจาอย่างนี้แหละชื่อว่า อริยวาจา วาจาที่ประเสริฐ ที่เป็นทางมาแห่งความเป็นพระอริยเจ้า เป็นวาจาที่สามารถเปลี่ยนตัวเราเอง ดังเรื่องของพระอธิมุตตเถระ
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - ก่อเวรเพราะวาทกรรม
ในโลกนี้ สิ่งที่จะบั่นทอนกำลังใจของคนเราได้มากคือคำพูด คำพูดที่ตัดกำลังใจหรือกดใจผู้ฟังให้ต่ำลง ทำให้ผู้ฟังรู้สึกระคายหู ก่อให้เกิดความไม่พอใจความขุ่นมัวโกรธเคือง และยังเป็นวาทกรรมที่ก่อเวร ทำให้ผูกพยาบาทจองเวรกันอีกด้วย ซึ่งการผูกโกรธผูกพยาบาท จะทำให้ใจกระสับกระส่ายไม่เป็นสมาธิ นอกจากนี้หน้าตาก็ยังเศร้าหมองไม่ผ่องใส ไม่น่าเข้าใกล้ ใครๆ ต่างถอยห่างไม่อยากจะคบหาสมาคมด้วย
ลักษณะมหาบุรุษ (2)
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้
มงคลที่ ๑๒ เลี้ยงดูบุตร - สงเคราะห์บุตรให้เข้าถึงธรรม
การเลี้ยงลูกตามหลักพุทธศาสนานั้น ต้องเริ่ม ต้นที่พ่อแม่ คือพ่อแม่ต้องทำตัวเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่ลูก เราอยากได้ลูกที่มีคุณธรรมสูง มีความกตัญญูกตเวที พ่อแม่ก็ต้องฝึกฝนตนเองให้มีคุณธรรมเหล่านั้นด้วยและทำให้ลูกดูเป็นตัวอย่าง บุญในตัวของพ่อแม่จะดึงดูดให้ได้ลูกแก้วลูกผู้มีบุญที่เป็นยอดกตัญญู
มงคลที่ ๑๙ งดเว้นจากบาป - สัตว์ร้าย รักษาอุโบสถ
สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเที่ยว หาอาหาร เห็นช้างตายอยู่ข้างทาง มันดีใจคิดว่า เป็นลาภลอยชิ้นใหญ่ของเราแล้ว จึงตรงเข้าไปกัดที่งวง แต่กัดไม่เข้า จึงเปลี่ยนไปแทะที่งา ก็รู้สึกเหมือนกับแทะแผ่นหิน กัดที่หาง ก็รู้สึกเหมือนกัดสากตำข้าว ครั้นกัดช่องทวารหนักก็รู้สึกว่า ได้กินเนื้อนุ่มๆ จึงเกิดติดใจมุดเข้าไปอยู่ข้างในท้องช้าง แล้วกัดกินเครื่องในอย่างเอร็ดอร่อย
มงคลที่ ๒๔ มีความสันโดษ - รู้จักพอ ก่อให้เกิดสุข
การเปลี่ยนแปลง คือ การแสวงหา นั่นคือ สัญญาณบอกให้เรารู้ว่า เรายังไม่พบของที่ดีจริง จึงเบื่อหน่ายเร็ว หายเห่อเร็ว เมื่อเบื่อก็เปลี่ยนแปลง แสวงหากันต่อๆ ไปอย่างนั้น การแสวงหาที่ไม่มีที่สิ้นสุดนี้แหละ ที่เรียกว่าไม่สันโดษ
มหาโควินทสูตร (ตอนที่ 7 ออกบวช)
บุคคลผู้ปีติในธรรม เมื่อดื่มรสอันเกิดแต่วิเวก และรสแห่งความสงบแล้ว ย่อมไม่มีความกระวนกระวาย ไม่มีบาป
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - จนข้ามภพ รวยข้ามชาติ ( ๒ )
ในตอนนี้เรามาศึกษาวิธีแก้ความยากจนข้ามชาติของมหาทุคตะกัน ต่อ ว่าเขามีวิธีการอย่างไร ถึงตอนที่ มหาทุคตะ ออกปากรับคำที่จะเลี้ยงพระภิกษุรูปหนึ่งในจำนวน ๒๐,๐๐๐ รูปแล้ว เขารีบกลับบ้านไปชักชวนศรีภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก ให้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพเลี้ยงพระสัก ๑ รูป ภรรยาก็ไม่ขัดข้อง และกล่าวอนุโมทนาว่า พี่คิดถูกแล้ว เมื่อชาติก่อนเราไม่ได้ให้อะไรๆ ชาตินี้จึงต้องเกิดเป็นคนยากจน